การผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)

การผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) คืออะไร และการทำผ่าตัดมีข้อดีอย่างไร?

การผ่าตัดตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)การผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) คือ วิธีการผ่าตัดที่ช่วยตกแต่งผิวหนัง และกล้ามเนื้อบริเวณปากช่องคลอดหรือฝีเย็บที่ฉีกขาด –(ฝีเย็บ คือ พื้นที่ที่มองเห็นระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก) 

ซึ่งการผ่าตัดมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความสวยงามปากช่องคลอดหรือหรือฝีเย็บ และทำให้ปากช่องคลอดกระชับขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกแนบชิดได้มากขึ้นตรงปากช่องคลอด จึงทำให้ความรู้สึกในการมีเพศสัมพันธ์ดีขึ้นกว่าเดิม ส่วนใหญ่การตกแต่งฝีเย็บมักทําร่วมกับ การผ่าตัดตกแต่งช่องคลอด

ซึ่งสาเหตุที่ทําให้มีการฉีกขาดของปากช่องคลอดหรือฝีเย็บมากที่สุด ส่วนใหญ่เกิดจากการตัด เพื่อขยายปากช่องคลอดในการคลอดบุตร ส่งผลให้ปากช่องคลอดเปิดกว้างกว่าปกติ อย่างไรก็ตามการฉีกขาดของปากช่องคลอดหรือฝีเย็บ อาจเกิดขึ้นได้จากอุบัติเหตุ หรือเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ สําหรับรอยย่นปากช่องคลอดหรือรอยย่นที่ฝีเย็บ อาจเกิดจากสาเหตุที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หรือเกิดขึ้นโดยกําเนิด รวมทั้งเกิดขึ้นเองเมื่ออายุมากขึ้

ปัจจุบันมีการนำ เลเซอร์ มาใช้ในการทำผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) ซึ่งส่งผลให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเลเซอร์สามารถควบคุมความความลึกของแผลผ่าตัดได้ ทําให้ช่วยลดการเสียเลือด รวมทั้งช่วยลดการทำลายเส้นเลือดที่มาเลี้ยงแผลผ่าตัด และเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใต้แผลผ่าตัด ส่งผลดีต่อกระบวนการหายของแผลผ่าตัด เมื่อเทียบกับการทำผ่าตัดแบบดั้งเดิม

1) ข้อมูลที่ควรทราบและการเตรียมตัว ก่อนการผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)

การผ่าตัดนี้จะไม่ลงลึกลงไปในช่องคลอด แต่ตั้งใจที่จะฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอจากการให้กำเนิดบุตร โดยการเย็บเฉพาะตรงปากช่องคลอด (ความลึกไม่เกิน 5 เซนติเมตร) ทำให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของปากช่องคลอดลดลงหรือแคบลง โดยการตัดผิวหนัง และเนื้อเยื่อส่วนเกินที่เป็นรอยย่นออก แล้วเย็บซ่อมกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียงไปพร้อมกัน  

ในช่วงของการปรึกษา ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดจะได้พบกับ แพทย์หญิง วิทัศศนา เพื่อซักประวัติและตรวจภายใน กรณีที่มีการติดเชื้ออยู่ในช่องคลอด เช่น เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย ควรรักษาภาวะติดเชื้อในช่องคลอดให้หายก่อนทำการผ่าตัด

หลังการตรวจภายใน ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการอธิบาย เกี่ยวกับสภาพของปากช่องคลอดก่อนการผ่าตัด, ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัด, การให้ยาระงับความรู้สึก, ประโยชน์หรือผลลัพธ์ที่จะได้รับจากการทำผ่าตัด, ทางเลือกในการรักษา และรายละเอียดเกี่ยวกับการพักฟื้นหลังการผ่าตัด รวมทั้งจะมีการแจ้ง ราคาค่าผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) ก่อนการตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด

หลังจากนั้นผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด จะได้รับการอธิบายเกี่ยวกับ ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนทั่วไปของการผ่าตัด ได้แก่ ภาวะเลือดออก, ภาวะแผลติดเชื้อ, ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด, การแพ้ยาหรือสารอื่นๆที่ใช้ในการผ่าตัด, การเกิดตกขาวมากผิดปกติ, การเกิดเชื้อราในช่องคลอด และภาวะแทรกซ้อนจำเพาะของการผ่าตัด ได้แก่ ภาวะปัสสาวะลําบากหรือภาวะปัสสาวะไม่ออกหลังการผ่าตัด, การเกิดรูรั่วระหว่างลําไส้ใหญ่กับปากช่องคลอด

การผ่าตัดนี้มีข้อจำกัด ไม่สามารถรับประกันผลลัพธ์ และความพึงพอใจในผู้เข้ารับการผ่าตัดแต่ละคนได้ทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานเดิมของผู้เข้ารับการผ่าตัด ได้แก่ กรณีปากช่องคลอดมีแผลเป็นจากการคลอดก่อนหน้านี้ และนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของผู้เข้ารับการผ่าตัด เพราะโรคประจำตัวบางชนิด ส่งผลต่อกระบวนการหายของแผลผ่าตัด รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับการดูแลแผลผ่าตัดที่ถูกต้อง ในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยเกินการควบคุมของแพทย์ ซึ่งแพทย์จะแจ้งให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดรับทราบก่อนการผ่าตัด

อย่างไรก็ตามทั้งนี้อาจจะเกิดจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม ทําให้การผ่าตัดมีผลคลาดเคลื่อน หรือกรณีเป็นความต้องการของผู้เข้ารับการผ่าตัดที่ต้องการผ่าตัดแก้ไข เนื่องจากไม่พึงพอใจผลการผ่าตัดก็อาจทำได้ โดยการพิจารณาตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ทั้งนี้ผู้เข้ารับการผ่าตัดและแพทย์ ควรจะปรึกษาร่วมกัน ซึ่งผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการผ่าตัดแก้ไขต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังการผ่าตัด โดยเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ายา และค่าใช้จ่ายทางวิสัญญีตามจริง

บริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากภาวะเลือดออกผิดปกติ ในระหว่างผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัดได้ เพราะเป็นการผ่าตัดที่ปากช่องคลอด ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดค่อนข้างมาก ทั้งนี้ภาวะเลือดออกผิดปกติ อาจพบได้ประมาณน้อยกว่าร้อยละ 1 แต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย ดังนั้นผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ไม่ควรรับประทานยาในกลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่มยาลดการแข็งตัวของเลือด 10-15 วัน ก่อนหรือหลังการผ่าตัด

อีกทั้งบริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากภาวะแผลแยกได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากแผลผ่าตัดอยู่ในบริเวณที่จะได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหว ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรจะต้องหยุดทำงาน และงดกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำเป็นประจำในช่วง 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด รวมทั้งในส่วนแพทย์ที่ทำผ่าตัดจำเป็นต้องมีความระมัดระวังในการผ่าตัด และมีเทคนิคการเย็บแผลผ่าตัดที่ดี ในการป้องกันการเกิดภาวะแผลแยก 

นอกจากนี้บริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการอักเสบและการติดเชื้อของแผลผ่าตัด ซึ่งทำให้เกิดภาวะแผลแยกได้ เนื่องจากแผลผ่าตัดอยู่บริเวณที่อับชื้น รวมทั้งอยู่ใกล้ทางเดินปัสสาวะและทางเดินอุจจาระ ซึ่งมีแบคทีเรียต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้ ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อ โดยการฉีดยาปฏิชีวนะก่อนการผ่าตัด และการรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งสําคัญ

การผ่าตัดนี้ทำผ่าตัด โดยการฉีดยานอนหลับเข้าหลอดเลือดดําร่วมกับการฉีดยาชา ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดจึงต้องงดน้ำและอาหาร ก่อนทำการผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงในการสำลักเศษอาหาร ในระหว่างหรือหลังจากการทำผ่าตัด 

ใครที่ไม่แนะนำให้ทำการผ่าตัด และต้องปรึกษแพทย์ก่อนการผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)

ไม่แนะนำให้ทำการผ่าตัด ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และในกรณีที่ไม่ได้แจ้งแฟนหรือคู่สมรส ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาความไม่เข้าใจกัน เนื่องจากต้องงดการมีเพศสัมพันธ์หลังการผ่าตัด รวมทั้งผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ต้องไม่ตั้งครรภ์ หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนนี้ แม้จะไม่เคยมีรายงานถึงผลเสียของการผ่าตัดต่อการตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ก็ตาม

ในกรณีที่ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดมีโรคประจำตัว ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดจำเป็นต้องได้รับการประเมินสุขภาพจากอายุรแพทย์ก่อน เพื่อดูว่าสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้หรือไม่

ทั้งนี้อายุรแพทย์จะทำการซักประวัติ, ตรวจร่างกาย และตรวจเลือดจำเพาะโรค เพื่อการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ซึ่งจำเป็นในผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดบางราย ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการปรึกษาอายุรแพทย์ และค่าทดสอบทางห้องปฏิบัติการในส่วนนี้ ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดต้องชำระเองเพิ่มเติมทั้งหมดตามราคาจริง 

หลังจากอายุรแพทย์ประเมินแล้วพบว่าสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ เจ้าหน้าที่จะนำผู้ที่ต้องการรับการผ่าตัดกลับมายัง ศูนย์จุดซ่อนเร้น เพื่อพบกับ แพทย์หญิง วิทัศศนา โปรดสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัดและรับฟังคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนการผ่าตัด

เมื่อพร้อมที่จะเข้ารับการผ่าตัด โปรดโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อนัดวันผ่าตัด หากผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด เผชิญกับสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เริ่มไม่สบาย, มีไข้ หรือมีประวัติการแพ้ยา กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่หรือแพทย์ก่อนการผ่าตัด

2) อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขั้นตอนก่อนการผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ตกแต่งฝีเย็บ)

3) ขั้นตอนการผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)

การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 45 นาที โดยการฉีดยานอนหลับทางหลอดเลือดดำ เมื่อผู้เข้ารับการผ่าตัดหลับ แพทย์จึงจะฉีดยาชาที่บริเวณที่จะทำการผ่าตัด คือบริเวณด้านหลังของผนังช่องคลอด

หลังการฉีดยาชา–ยาชาออกฤทธิ์–แพทย์จึงจะทําการผ่าตัดเลาะเอาผนังช่องคลอดด้านหลัง (ความลึกประมาณ 5 เซนติเมตร) และผิวหนังส่วนเกินบริเวณปากช่องคลอดทิ้ง ดังนั้นผนังช่องคลอดทางด้านหลังจะขาดออกจากกันเป็นรูปลิ่มหรือตัววีกลับหัว หลังจากนั้นแพทย์จะนําขอบแผลทั้งสองข้างหรือขาของตัว V ทั้งสองข้างมาชิดกันใหม่–แล้วจะทําการเย็บขอบแผลให้ติดกันด้วยไหมละลายช้า โดยเริ่มที่ด้านแหลมของตัว V ที่อยู่ในช่องคลอดก่อน–โดยทําการเย็บทั้งหมด 2 หรือ 3 ชั้น แล้วแต่ความเหมาะสม เพื่อป้องกันการแยกของแผลผ่าตัด

หัวข้อน่าสนใจ โปรดคลิ๊ก

ต้องการดู รูป ก่อน และ หลังการผ่าตัด

คําถามบ่อยเกี่ยวกับ การผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)

4) ขั้นตอนหลังการผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) 

หลังเสร็จจากก่รผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้น 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเมื่อผู้เข้ารับการผ่าตัดรู้สึกตัวดี, สัญญาณชีพปกติ, ตรวจแผลผ่าตัดแล้ว ไม่พบว่ามีเลือดออกจากแผลผ่าตัดมากผิดปกติ และผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถปัสสาวะได้เอง รวมทั้งเมื่อมีการถามตอบ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด–แล้วผู้เข้ารับการผ่าตัดเข้าใจดี–สามารถตอบคําถามได้ถูกต้อง–แพทย์จึงจะอนุญาตให้กลับบ้านได้ ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจมีอาการมึนงง, เวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน จากการฉีดยานอนหลับ ควรนอนพักจนกว่าอาการจะดีขึ้น และเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ผู้เข้ารับการผ่าตัดไม่ควรขับขี่ยานพาหนะหลังการผ่าตัด

ในผู้เข้ารับการผ่าตัดบางราย ที่กังวลกับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดหรือพักอยู่ต่างจังหวัด แพทย์อาจจะแนะนําให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดนอนพักโรงพยาบาล 1 คืน หลังเสร็จจากการผ่าตัด มีความจำเป็นที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัสสาวะคั่งค้าง อันเนื่องมาจากภาวะปัสสาวะลำบากหลังผ่าตัด ซึ่งเกิดจากภาวะตึงตัวของกล้ามเนื้อ บริเวณรอบปากช่องคลอดหลังจากการผ่าตัดในระยะแรก หลังจากนั้นเมื่อภาวะตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบปากช่องคลอดลดลง ผู้เข้ารับการผ่าตัดก็จะสามารถปัสสาวะได้เองตามปกติ ซึ่งเมื่อเสร็จจากการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้น 1-2 ชั่วโมง เมื่อรู้สึกตัวดีและสัญญาณชีพปกติ แพทย์จึงจะอนุญาตให้ผู้เข้ารับการผ่าตัด กลับไปนอนพักสังเกตอาการต่อที่ตึกผู้ป่วยใน 

ที่ตึกผู้ป่วยใน ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัด, ยาแก้อักเสบ ที่ช่วยลดอาการปวดแผลผ่าตัด และยาพาราเซตามอล ช่วยแก้ปวด กรณีที่ผู้เข้ารับการผ่าตัดมีอาการปวดแผลมาก อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังการรับประทานยาแก้ปวด ผู้เข้ารับการผ่าตัดก็จะได้รับยาแก้ปวดชนิดฉีด เพื่อบรรเทาอาการปวด

ในวันรุ่งขึ้นหลังการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการถอดสายสวนปัสสาวะ หลังจากนั้นถ้าผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถปัสสาวะได้เอง และแพทย์ตรวจแผลผ่าตัดแล้ว ไม่พบว่ามีเลือดออกมากผิดปกติ รวมทั้งเมื่อมีการสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดเข้าใจดี–สามารถตอบคําถามได้ถูกต้อง แพทย์หญิง วิทัศศนา จึงจะอนุญาตให้กลับบ้านได้

โปรดทราบว่า ต่อให้แพทย์ทําการผ่าตัด–เย็บแผลผ่าตัดอย่างระมัดระวังเท่าใดก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าแผลผ่าตัดเกิดการอักเสบและติดเชื้อ ผู้เข้ารับการผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด หรือ ผ่าตัดตกแต่งฝีเย็บ ต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคําแนะนําหลังการผ่าตัดโดยเคร่งครัด

อ่านต่อ>>

ข้ามไปยังทูลบาร์