Home คำแนะนําก่อนการผ่าตัดทาง นรีเวชทางเดินปัสสาวะ

คำแนะนําก่อนการผ่าตัดทาง นรีเวชทางเดินปัสสาวะ

คำแนะนําก่อนการผ่าตัดทาง นรีเวชทางเดินปัสสาวะ

1) คำแนะนําและข้อควรทราบ ก่อนการผ่าตัดทาง นรีเวชทางเดินปัสสาวะ

คำแนะนําก่อนการผ่าตัดทางนรีเวชทางเดินปัสสาวะ

  • ในวันที่เข้ารับคำปรึกษาก่อนเข้ารับการผ่าตัด กรุณานำสำเนารายการปัญหาทางการแพทย์ของผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ที่ได้รับจากแพทย์ที่ดูแลในเบื้องต้นจากที่ใดๆ ก็ตาม มาให้แพทย์ที่คุณเข้ารับคำปรึกษาด้วย
  • ก่อนทำผ่าตัดจะมีการซักประวัติ, ตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจภายในเพื่อเช็คมะเร็งปากมดลูก ในผู้ที่ต้องการผ่าตัดที่พบมีการติดเชื้อในช่องคลอดก่อนผ่าตัด เช่น เชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย ควรรักษาภาวะติดเชื้อในช่องคลอดให้หายก่อนทำการผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัด
  • แพทย์จะอธิบายรายละเอียดของการผ่าตัด เกี่ยวกับวิธีการผ่าตัด, ขั้นตอนการผ่าตัด, ภาวะแทรกซ้อนที่สําคัญที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด และการดูแลหลังการผ่าตัด ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ควรอ่านและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดทั้งหมดโดยละเอียด ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • ไม่แนะนำให้ทำการผ่าตัดในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และไม่แนะนําให้ทําการผ่าตัด ในกรณีที่ไม่ได้ปรึกษากับคู่สมรส เนื่องจากต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ ทําให้อาจมีโอกาสเกิดความเข้าใจผิดกันได้ รวมทั้งผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ต้องไม่ตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ แม้จะไม่เคยมีรายงานถึงผลเสียของการผ่าตัด ต่อทารกในครรภ์ กรณีผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด มีโรคประจำตัวหรือมีประวัติการแพ้ยา กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • การผ่าตัดทางนรีเวชทางเดินปัสสาวะ มีข้อจำกัด ไม่สามารถรับประกันผลและความพึงพอใจในการผ่าตัดของผู้เข้ารับการผ่าตัดแต่ละคนได้ทั้งหมด เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อความสำเร็จของการผ่าตัด
  • กรณีการผ่าตัดมีผลคลาดเคลื่อนหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน การพิจารณาผ่าตัดแก้ไขอาจทำได้ โดยการพิจารณาตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ทั้งนี้ผู้เข้ารับการผ่าตัดและแพทย์ควรจะปรึกษาร่วมกัน
  • ซึ่งการเตรียมตัวที่สําคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ควรทราบก่อนการผ่าตัดคือ ควรมีเวลาพักและหยุดการทํางาน  หลังการผ่าตัดอย่างน้อย 2-3 วัน หรือ 3-5 วัน หรือ 5-7 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของการผ่าตัด

2) คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา ก่อนการผ่าตัดทาง นรีเวชทางเดินปัสสาวะ

2 อาทิตย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด:

  • หยุด สูบบุหรี่และ หยุด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งสารนิโคตินในบุหรี่นั้นจะมีผลต่อการไหลเวียนของเลือด และรบกวนกระบวนการหายของแผลผ่าตัด และการดื่มแอลกอฮอล์จะลดประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อที่ให้ ในการป้องกันการติดเชื้อก่อนและหลังการผ่าตัด

 1 อาทิตย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด:

  • หยุดใช้ยาแอสไพริน และยาที่มีส่วนประกอบของแอสไพรินทั้งหมด (เช่น Anacin, Excedrin, Pepto-Bismol) ตรวจสอบยาลดไข้หรือแก้ปวดที่ข้างขวด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีส่วนประกอบของแอสไพริน อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • หยุดใช้ยา nonsteroidal anti-inflammatory ทั้งหมดดังต่อไปนี้ เช่น Etodolac, Fenoprofen, Ibuprofen, Motrin, Ketorolac, Maproxen , Meclofenarnate, Ponstan, Naproxen  

 เช้าในวันเข้ารับการผ่าตัด :

  • ถ้าผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัดขับรถเป็นระยะทางไกลเพื่อมาผ่าตัด ห้ามรับประทาน ยาเบาหวาน และ ควรงดฉีด INSULIN ในตอนเช้า กรุณารับประทานยาตอนเช้าชนิดอื่นตามปกติ
  • ถ้าผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีนัดผ่าตัดในตอนบ่าย อนุญาตให้จิบน้ำเปล่าได้ และรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่ายได้เล็กน้อย รวมทั้งให้รับประทานยาที่เคยรับประทานประจำตามปกติ ในช่วงเช้า (ประมาณเวลาไม่เกิน 07.00 น.) 

:: หัวข้อที่น่าสนใจ ::

แนวทางการรักษาภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

เกี่ยวกับภาวะปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

คำถามบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดแก้ไขปัสสาวะเล็ด TVT-O

ต้องการดูรูปก่อน-หลังการผ่าตัด (โปรดคลิ๊ก)


3) คำแนะนำเกี่ยวกับการงดน้ำและอาหาร ก่อนการผ่าตัดทาง นรีเวชทางเดินปัสสาวะ

8 ชั่วโมงก่อนที่จะเริ่มการผ่าตัด:

  • ห้ามรับประทานอาหารแข็งใด ๆ รวมทั้งน้ำผลไม้ที่มีกาก (เช่น น้ำส้ม nectars) ห้ามดื่มของเหลวที่มีส่วนประกอบของนม, ครีมและเยลลี่
  • ในผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ที่มีโรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคไตวาย, โรคกรดไหลย้อนในกระเพาะอาหาร หรืออาการแสบร้อนกลางอก ห้ามรับประทานอาหารหรือของเหลวไม่มีกาก รวมถึงน้ำเปล่า, น้ำผลไม้ที่ไม่มีกาก (เช่น แอปเปิ้ล องุ่น), ชาดำและกาแฟดำ เป็นเวลาแปดชั่วโมงก่อนที่จะเริ่มการผ่าตัด ยกเว้นยาที่คุณต้องทานตามปกติ

6 ชั่วโมงก่อนที่จะเริ่มต้นการผ่าตัด:

  • ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ยังคงสามารถดื่มนํ้าเปล่าได้, สามารถทานยาที่คุณต้องทานตามปกติ และของเหลวหรือน้ำผลไม้ที่ไม่มีกาก (เช่น แอปเปิ้ล องุ่น) รวมทั้งชาดำและกาแฟดำ ได้มากถึงแปดออนซ์
  • ห้ามรับประทานอาหาร, เครื่องดื่มที่มีกากหรืออะไรก็ตามทางปาก เหตุผลก็คือว่าเพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น อาการคลื่นไส้หรืออาเจียนขณะที่หลับจากกำรให้ยาในช่วงผ่าตัด ความเสี่ยงที่มีก็คือ อาเจียนของผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด อาจจะไหลเข้าไปในปอด ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น โรคปอดบวม
  • เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อาจจะส่งผลให้ผู้เข้ารับการผ่าตัด ต้องอยู่โรงพยาบาลนานต่อไปอีก และอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ของการผ่าตัด ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องคอยบอกกับผู้เข้ารับการผ่าตัดอยู่บ่อยครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าต้องงดรับประทานอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนที่จะเริ่มต้นการผ่าตัด เว้นแต่ว่าจะได้รับการแนะนำจากวิสัญญีแพทย์เป็นกรณีพิเศษ

4) คำแนะนำในวันนัดผ่าตัดทาง นรีเวชทางเดินปัสสาวะ

  • กรณีที่ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ เช่น ยาพ่นสำหรับโรคหอบหืด ควรนำติดตัวไปที่โรงพยาบาล ในวันที่จะเข้ารับการผ่าตัด
  • ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ควรอาบน้ำและสระผม อาจจะแต่งหน้าอ่อนๆ และไม่ควรปัดมาสคาร่า ในกรณีทาเล็บ กรุณาล้างเล็บมือทั้งสองข้างก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ควรถอดเครื่องประดับทั้งหมด, แหวนแต่งงานและแหวนอื่นๆ รวมทั้งต้องถอดสิ่งของมีค่าต่างๆ ไว้ที่บ้าน หากว่ามีชิ้นใดที่ไม่สามารถถอดออกได้ จะมีการแปะเทปกาวเอาไว้เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยา กรณีที่มีการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า
  • กรณีที่ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด สวมคอนแทคเลนส์, แว่นตาหรือเครื่องช่วยฟัง รวมทั้งฟันปลอม กรุณานำกล่องใส่คอนแทคเลนส์และฟันปลอม รวมทั้งน้ำยาสำหรับคอนแทคเลนส์ เพราะต้องถอดออกขณะที่เข้ารับการผ่าตัด
  • แจ้งแพทย์ที่จะทำการผ่าตัด ถ้าผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด เผชิญกับสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เริ่มไม่สบาย, มีไข้, เป็นหวัด, มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ, มีอาการท้องร่วง หรือมีภาวะติดเชื้ออื่นๆ ก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัด
  • ในกรณีผู้ที่ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ไม่มีโรคประจำตัว แต่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัด คุณจะได้พบกับ แพทย์หญิง วิทัศศนา เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับข้อสงสัยในการผ่าตัดอีกครั้ง โปรดสอบถามข้อสงสัยและรายละเอียดอื่นๆ กรณีไม่แน่ใจหรือกังวลมาก เนื่องจากเหตุผลใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับการผ่าตัด ควรเลื่อนการผ่าตัดไปก่อน
  • กรณีที่ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัด คุณจะต้องกรอกเอกสารแสดงความยินยอมเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งจะถือเป็นใบอนุญาต ให้ทางเจ้าหน้าที่และแพทย์สามารถทำการผ่าตัดคุณได้ จากนั้นพยาบาลจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด โปรดสอบถามข้อสงสัยอื่นๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • ในกรณีผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด มีโรคประจำตัว ซึ่งอายุรแพทย์ประเมินแล้วพบว่าคุณสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้        ซึ่งคุณจะได้รับคำแนะนำ เกี่ยวกับขั้นตอนก่อนการเข้ารับการผ่าตัด และการให้ยาระงับความรู้สึกขณะทำผ่าตัดอย่างคร่าวๆ จากนั้นคุณจะต้องกรอกเอกสารแสดงความยินยอมเข้ารับการผ่าตัด โปรดสอบถามข้อสงสัยอื่นๆ
  • หลังเสร็จเรื่องเอกสารแสดงความยินยอม เจ้าหน้าที่จะนำผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ไปชำระค่าบริการการผ่าตัดทั้งหมดที่แคชเชียร์ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำคุณไปยังตึกผู้ป่วยใน เพื่อเตรียมตัวก่อนเข้าห้องผ่าตัด เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบข้อมูล ชื่อ-นามสกุล,วันเกิด และนำคุณไปที่ห้องพัก รวมทั้งจะช่วยเหลือในการเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อใส่ชุดคลุมผ่าตัด และมอบสายรัดข้อมือสำหรับระบุตัวตนให้กับคุณ
  • จากนั้นเจ้าหน้าที่พยาบาลจะทำการตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งสัญญาณชีพ ได้แก่ อุณหภูมิ, การหายใจ, ความดันโลหิตและชีพจร ในกรณีผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดไม่มีโรคประจำตัว และไม่ได้รับการประเมินสุขภาพจากอายุรแพทย์ จำเป็นต้องมีการเจาะเลือด เพื่อส่งตรวจทางเคมีขั้นพื้นฐาน รวมทั้งต้องมีการตรวจคลื่นหัวใจและเอ็กซเรย์ปอด ในผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดที่มีอายุมากกว่า 45 ปี
  • กรณีผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ต้องการฝากเครื่องประดับและของมีค่า รวมทั้งโทรศัพท์มือถือ ซึ่งที่ห้องพักตึกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลก็จะมีตู้เซฟ เพื่อเก็บสิ่งของมีค่า ทั้งนี้คุณสามารถเก็บของมีค่าได้ทั้งหมด ในตู้เซฟของโรงพยาบาล
  • หลังจากนั้นวิสัญญีแพทย์จะทำการประเมินสุขภาพของผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดโดยรวมอีกครั้ง ทั้งนี้คุณจะได้รับทราบข้อมูล เกี่ยวกับการให้ยาระงับความรู้สึกขณะทำผ่าตัดโดยละเอียดจากวิสัญญีแพทย์ โปรดสอบถามข้อสงสัยอื่นๆ รวมทั้งรายละเอียดของการให้ยาระงับปวดหลังการผ่าตัด
  • หลังจากเสร็จสิ้นการเตรียมการเหล่านี้แล้ว เจ้าหน้าที่จะนำผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดไปยังบริเวณห้องผ่าตัด ซึ่งคุณจะได้รับการดูแลต่อโดยทีมเจ้าหน้าที่วิสัญญี ในระหว่างที่รอเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องผ่าตัด คุณจะได้รับการฉีดยาปฏิชีวนะภายในหนึ่งชั่วโมงก่อนการทำผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัด 

หลังจากเสร็จสิ้นการเตรียมการเหล่านี้แล้ว เจ้าหน้าที่ของห้องผ่าตัดจะนำผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดไปยังห้องผ่าตัด คุณจะได้รับการดูแล โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำห้องผ่าตัดต่อไป

ไม่ต้องกังวลที่จะเกิดความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อน ถ้าผู้เข้ารับการผ่าตัดปฏิบัติตาม คำแนะนําก่อนและหลังการผ่าตัดทาง นรีเวชทางเดินปัสสาวะ โดยเคร่งครัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 5-7 วัน ไม่มีความเสี่ยงในด้านขาดความรู้สึกการมีเพศสัมพันธ์ ควรมาพบแพทย์ตามนัด แพทย์จะนัดตรวจดูแผลหลังการผ่าตัด 1-2 สัปดาห์

ข้ามไปยังทูลบาร์