Home คําถามบ่อย เกี่ยวกับ การผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)

คําถามบ่อย เกี่ยวกับ การผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)

คําถามบ่อย เกี่ยวกับ การผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)

Q : ทำไมจึงรู้สึกว่าบริเวณ ปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) ไม่กระชับขณะมีเพศสัมพันธ์?

  • คําถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การผ่าตัดตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)ปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) อาจเกิดการเปิดกว้างมากกว่าปกติ โดยเฉพาะหลังจากการคลอดบุตร หรือเกิดตามหลัง การเย็บซ่อมแผลปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) หลังจากการคลอดบุตร เนื่องจากอาจเกิดการติดเชื้อ ทำให้เกิดการแยกของแผลที่เย็บไว้ และเกิดแผลเป็นที่บริเวณปากช่องคลอด ทำให้ปากช่องคลอดมีความกว้างกว่าปกติ ซึ่งทําให้การมีเพศสัมพันธ์ อาจไม่ได้รับความพึงพอใจเท่ากับเพศสัมพันธ์ก่อนการคลอดบุตร

Q : ปัญหาที่เกิดจาก การฉีกขาดของ ปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) มีอะไรบ้าง?

  • อาจมีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการขับถ่ายของคุณ อันเป็นผลเนื่องมาจากหลังการคลอดบุตร ที่ทําให้มีการฉีกขาดของปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) ในระดับสามถึงสี่
  • การฉีกขาดของปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) ระดับสาม หมายความว่ากล้ามเนื้อและผิวหนังในบริเวณฝีเย็บ รวมทั้งกล้ามเนื้อโดยรอบทวารหนักเกิดการฉีกขาด
  • การฉีกขาดของปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) ฉีกขาดระดับสี่ มีความคล้ายคลึงกับอาการปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) ฉีกขาดระดับสาม แต่อาจแตกต่างกันตรงที่มีการฉีกขาดของผนังเยื่อบุลำไส้ที่บริเวณทวารหนักฉีกขาดด้วย ทําให้ปากช่องคลอดเกิดการฉีกขาดทะลุถึงรูเปิดของทวารหนัก ซึ่งถ้าไม่ได้เย็บซ่อมหรือเย็บซ่อมไม่ดี ก็จะทําให้มีอุจจาระออกมาจากช่องคลอดของคุณ

Q : การผ่าตัดตกแต่ง ปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) ที่ฉีกขาด สามารถเย็บกลับคืนเป็นปกติได้หรือไม่ ใช้เวลานานเท่าใด และการผ่าตัดรักษาต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง?

  • ปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) สามารถเย็บกลับคืนเป็นปกติได้ ทั้งนี้สิ่งสําคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งคือ การปฏิบัติตัวหรือการดูแลหลังการผ่าตัดที่ถูกต้อง การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1/2- 1 ชั่วโมง โดยการให้ยานอนหลับชนิดฉีดทางหลอดเลือดดำ เมื่อผู้เข้ารับการผ่าตัดหลับ แพทย์จึงจะฉีดยาชาที่บริเวณที่จะทําการผ่าตัด คือบริเวณด้านหลังของปากช่องคลอด หลังการฉีดยาชาแพทย์จึงจะทําการผ่าตัดเลาะเอาผนังปากช่องคลอดด้านหลังส่วนเกินที่ฉีกขาดหรือผิวหนังของปากช่องคลอดส่วนที่เป็นรอยย่นทิ้ง
  • หลังจากนั้นแพทย์จะนําขอบแผลปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)  ทั้งสองด้านที่ขาดออกจากกันหลังการตัดผนังปากช่องคลอดส่วนเกินหรือผิวหนังของปากช่องคลอดส่วนที่เป็นรอยย่นทิ้ง—มาเย็บติดกันใหม่ด้วยไหมละลายช้า เพื่อห้ามเลือดตลอดความยาวทั้งหมดของปากช่องคลอด 1-2 ชั้น หลังจากนั้นจะทําการเย็บขอบแผลอีกรอบด้วยไหมละลายช้าเส้นเล็ก

หัวข้อน่าสนใจ โปรดคลิ๊ก

ต้องการดู รูป ก่อนและหลังการผ่าตัด

คําถามบ่อยเกี่ยวกับ การผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)

 


Q : หลังการผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ) จะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่?

ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • อาจมีเลือดออกมากจากแผลผ่าตัด กรณีผู้เข้ารับการผ่าตัดมีเลือดออกมากชุ่มผ้าอนามัย หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดเป็นก้อนสีแดงสด กรุณาโทรติดต่อโรงพยาบาลทันที เพื่อขอรับคำแนะนำ หรือกลับมาพบแพทย์เพื่อตรวจแผลผ่าตัด
  • เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่อยู่ใกล้ทางเดินปัสสาวะและอุจจาระ จึงอาจเกิดการติดเชื้อขึ้นได้ การป้องกันการติดเชื้อโดยการฉีดยาปฏิชีวนะก่อนการผ่าตัด และการรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งสําคัญ  

Q : ควรปฏิบัติตนอย่างไร ในช่วงการพักฟื้น หลังการผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด (ฝีเย็บ)?

  •  เมื่อกลับบ้านวิธีการพักฟื้นอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน วันรุ่งขึ้นหลังการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะสามารถลุกและเดินไปรอบๆ ได้ แต่ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรจะต้องหยุดทำงานและงดกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำเป็นประจำ ในระยะ 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับยาปฏิชีวนะ, ยาแก้อักเสบที่ช่วยลดอาการปวดแผลผ่าตัด, ยาพาราเซตามอลแก้ปวด และยาระบาย เพื่อป้องกันภาวะท้องผูก ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ควรรับประทานให้ครบทั้งหมด
  • ในระยะเวลา 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจมีความรู้สึกปวดเบ่งอยากถ่ายอุจจาระตลอดเวลา ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรนอนพัก เพื่อลดอาการปวดเบ่งและลดภาวะอักเสบบริเวณแผลผ่าตัด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระจากภาวะท้องผูก โดยการรับประทานยาระบาย
  • ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ควรทําความสะอาดแผลผ่าตัดด้วยการฟอกสบู่ขณะอาบน้ำ ในตอนเช้าและก่อนนอน การทำความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัดหลังการถ่ายปัสสาวะ สามารถทำได้โดยการซับด้วยทิชชูเปียก (Sanitary Wipes) และหลังการถ่ายอุจจาระ โดยการล้างผ่านน้ำเปล่าแล้วซับเบาๆให้แห้ง
  • ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิดหลังการผ่าตัด ควรยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของหมักดอง และงดสูบบุหรี่อย่างน้อย 15 วัน หลังการผ่าตัด
  • ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจจะค่อยๆ กลับมาทำกิจกรรมต่างๆ และยกของเบาๆ ได้ ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถทำกิจกรรมทางกายภาพต่างๆ ที่ต้องใช้กำลังได้เล็กน้อย—แต่ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางกายภาพที่ต้องเดินมากๆ และการขึ้นลงบันไดบ่อยๆ
  • ในช่วงหลังสัปดาห์ที่ 2 จนถึงสัปดาห์ที่ 4 หลังการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถทำกิจกรรมทางกายภาพต่างๆ  ที่ต้องใช้กำลังปานกลางได้พอควร แต่ควรงดการออกกําลังกายทุกชนิด
  • ในช่วงหลังสัปดาห์ที่ 4 จนถึงสัปดาห์ที่ 6 หลังการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถทำกิจกรรมต่างทางกายภาพๆ ที่ต้องใช้กำลังปานกลางได้มากขึ้น สามารถออกกำลังกายที่ใช้แรงของลำตัวช่วงบนได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางกายภาพ ที่ต้องใช้กำลังกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน ที่ส่งผลกระทบต่อแผลผ่าตัด เช่น การวิ่งออกกำลังกายหรือการเดินเร็ว, การแช่น้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำ, การว่ายน้ำ, การออกกําลังกายโดยการยกนํ้าหนัก, การขี่จักรยาน, การเล่นโยคะและการซิทอัพ รวมทั้งควรงดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์หลังการผ่าตัด 

การผ่าตัดตกแต่งฝีเย็บ หรือ การเย็บซ่อมปากช่องคลอด จะไม่ลงลึกลงไปในช่องคลอดแต่ตั้งใจที่จะฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอในการให้กำเนิดบุตร โดยการเย็บเฉพาะตรงปากช่องคลอด (ความลึกไม่เกิน 5 เซนติเมตร) วัตถุประสงค์เพื่อทำให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของปากช่องคลอดแคบขึ้น เพื่อให้เกิดความสวยงาม และความรู้สึกแนบชิดได้มากขึ้นตรงปากช่องคลอด จึงทำให้เกิดความรู้สึกในการมีเพศสัมพันธ์ดีขึ้นกว่าเดิม ส่วนใหญ่การผ่าตัดตกแต่งฝีเย็บมักทําร่วมกับการผ่าตัดตกแต่งช่องคลอด

ข้ามไปยังทูลบาร์