การผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี คืออะไร และผ่าตัดเพื่อวัตถุประสงค์อะไร?
การผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี คือ การเย็บซ่อมรอบวงของ เยื่อพรหมจารี ที่ฉีกขาด ซึ่งแต่เดิมนั้นเชื่อกันว่า เยื่อพรหมจารี คือ “สัญลักษณ์” ของผู้หญิงที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ แต่ในความเป็นจริง เยื่อพรหมจารี เป็นเยื่อที่บางมากๆ สามารถฉีกขาดได้จากสาเหตุอื่นๆ นอกจากการมีเพศสัมพันธ์ในครั้งแรก ยกตัวอย่าง เช่น ฉีกขาดจากการหกล้มโดยอุบัติเหตุ หรือฉีกขาดจากการเล่นกีฬาที่ต้องออกแรง อย่างเช่น การเล่นยิมนาสติก, การขี่ม้า, การปั่นจักรยาน หรือแม้กระทั่งการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
ซึ่งมีวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับการเป็นผู้หญิงพรหมจรรย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงในแถบอเมริกาใต้ หรือตะวันออกกลาง นิยมทำการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี เพื่อเป็นสิ่งที่แสดงนัยของพรหมจรรย์ ทั้งนี้ตามความเชื่อทางวัฒนธรรม หรือความเชื่อทางศาสนา ซึ่งในบางประเทศเยื่อพรหมจารี อาจมีความสําคัญเท่าชีวิต หรือเป็นสิ่งจําเป็นที่สุด สําหรับชีวิตของผู้หญิงคนนั้นเลยทีเดียว
1) ข้อมูลที่ควรทราบและการเตรียมตัว ก่อนการตัดสินใจทําการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี
การผ่าตัดชนิดนี้ เป็นการผ่าตัดที่ต้องใช้ความประณีต และความระมัดระวังค่อนข้างสูง โดยการผ่าตัดเพื่อนำขอบของ เยื่อพรหมจารี และเนื้อเยื่อรอบๆ เยื่อพรหมจารีที่ฉีกขาด มาทําการเย็บซ่อมด้วยไหมละลายช้าเส้นเล็ก ให้เป็นรูปวงแหวนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นลักษณะของเยื่อพรหมจารีก่อนที่จะฉีกขาด
ในการผ่าตัดนี้ ในบางครั้งจำเป็นต้องทำคู่กับการผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด เนื่องจากในผู้เข้ารับการผ่าตัดที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน มักจะมีการขยายของ ปากช่องคลอด ร่วมด้วย อีกทั้งการเย็บ เยื่อพรหมจารี ซึ่งเป็นเพียงเยื่อบางๆ อาจจะไม่สามารถจะเย็บให้ติดได้หมดทุกจุด จําเป็นต้องอาศัยการผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอด เพื่อช่วยลดความตึงที่บริเวณแผลผ่าตัดที่เย็บเยื่อพรหมจารี ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการแยกของแผลผ่าตัดหลังการเย็บซ่อม อีกทั้งการผ่าตัด ตกแต่งปากช่องคลอดให้แคบลง จะช่วยเสริมให้บริเวณปากช่องคลอดให้กลับไปสู่สภาพใกล้เคียง–คล้ายกับลักษณะของปากช่องคลอด ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการมีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง เมื่อเข้าสู่พิธีแต่งงาน
ทั้งนี้เเพทย์ควรพิจารณาให้การผ่าตัดชนิดนี้ เฉพาะผู้เข้ารับการผ่าตัด ที่มีความจําเป็นตามค่านิยม, ความเชื่อทางวัฒนธรรมหรือทางศาสนาจริงๆ รวมทั้งควรพิจารณาทำผ่าตัด ในผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการตั้งครรภ์ หรือคลอดบุตรมาก่อน
ในช่วงของการปรึกษา ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดจะได้พบกับ แพทย์หญิง วิทัศศนา เพื่อซักประวัติและตรวจภายใน กรณีที่มีการติดเชื้ออยู่ในช่องคลอด เช่น เชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย ควรรักษาภาวะติดเชื้อในช่องคลอดให้หายก่อนทำการผ่าตัด
หลังการตรวจภายใน ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการอธิบาย เกี่ยวกับสภาพของ เยื่อพรหมจารี ก่อนการผ่าตัด, ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัด, การให้ยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัด, ประโยชน์หรือสภาพของเ ยื่อพรหมจารี หลังการทำผ่าตัด, ทางเลือกในการรักษ และรายละเอียดเกี่ยวกับการพักฟื้นหลังการผ่าตัด รวมทั้งรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด
หลังจากนั้นผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด จะได้รับการอธิบายเกี่ยวกับ ความเสี่ยงและ ภาวะแทรกซ้อน ทั่วไปของการผ่าตัด ได้แก่ ภาวะเลือดออก, ภาวะแผลติดเชื้อ, ภาวะแผลแยก, ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด, การแพ้ยา หรือสารอื่นๆ ที่ใช้ในการผ่าตัด, การเกิดตกขาวมากผิดปกติ, การเกิดเชื้อราในช่องคลอด และภาวะแทรกซ้อนจำเพาะของการผ่าตัด ได้แก่ การผ่าตัดมีผลคลาดเคลื่อนหลังการผ่าตัด คือไม่สามารถจะเย็บให้เยื่อพรหมจารีให้ติดได้หมดทุกจุด, มีโอกาสที่จะเกิดแผลผ่าตัดแยก หรือฉีกขาดหลังการเย็บซ่อม
รูปภาพ A, B, C และ D แสดงภาพบริเวณปากช่องคลอด พร้อมกับเยื่อพรหมจารีแบบต่างๆ
รูปภาพประกอบ E แสดงให้เห็นถึงเยื่อพรหมจารีของผู้หญิง ที่ให้กำเนิดบุตรมาแล้ว
การผ่าตัดมีข้อจำกัด ไม่สามารถรับประกันผลลัพธ์ และความพึงพอใจในผู้เข้ารับการผ่าตัดแต่ละคนได้ทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานเดิมของเยื่อพรหมจารีของผู้เข้ารับการผ่าตัด ได้แก่ กรณีเยื่อพรหมจารีบางมาก หรือมีรอยฉีกขาดเล็กๆ มากกว่า 3-4 จุดขึ้นไป โอกาสที่จะประสบความสำเร็จใ นการเย็บซ่อมวงรอบของเยื่อพรหมจารีก็จะมีน้อยลง คืออาจจะไม่ติดทุกจุดหรือเย็บติดเพียงบางส่วน (ไม่ครบวงทั้งหมด) และนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของผู้เข้ารับการผ่าตัด เพราะโรคประจำตัวบางชนิด ส่งผลต่อกระบวนการหายของแผลผ่าตัด รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับการดูแลแผลผ่าตัดที่ถูกต้องของผู้เข้ารับการผ่าตัด ในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยเกินการควบคุมของแพทย์ ซึ่งแพทย์จะแจ้งให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดรับทราบก่อนผ่าตัด
อย่างไรก็ตามทั้งนี้อาจจะเกิดจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม ทําให้ผลการผ่าตัดคลาดเคลื่อน หรือเป็นความต้องการของผู้เข้ารับการผ่าตัด ที่ต้องการผ่าตัดแก้ไขก็อาจทำได้ โดยการพิจารณาตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ทั้งนี้ผู้เข้ารับการผ่าตัดและแพทย์ ควรจะพิจารราร่วมกัน ซึ่งผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการผ่าตัดแก้ไขต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังการผ่าตัด โดยเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ายาและค่าใช้จ่ายทางวิสัญญีตามจริง
บริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากภาวะเลือดออกผิดปกติ ในระหว่างผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัดได้ เนื่องจากบริเวณเยื่อพรหมจารีเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดค่อนข้างมาก ซึ่งภาวะเลือดออกผิดปกติ อาจพบได้ประมาณน้อยกว่าร้อยละ 1 แต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย ดังนั้นผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ไม่ควรรับประทานยาในกลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่มยาลดการแข็งตัวของเลือด 10-15 วัน ก่อนหรือหลังการผ่าตัด
อีกทั้งบริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากภาวะแผลแยกได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากเยื่อพรหมจารีเป็นเนื้อเยื่อที่ค่อนข้างบอบบาง และในการผ่าตัดชนิดนี้จะมีการใช้ไหมเส้นเล็กเย็บแผล ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลแยก แล้วทำให้มีเลือดออกผิดปกติได้ อีกทั้งในการผ่าตัดนี้แผลผ่าตัดอยู่ในบริเวณที่จะได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหว ดังนั้นผู้เข้ารับการผ่าตัด ควรจะต้องหยุดทำงาน และงดกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำเป็นประจำ ในช่วง 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด รวมทั้งในส่วนของแพทย์ที่ทำผ่าตัดจำเป็นต้องมีความระมัดระวังในการผ่าตัด และมีเทคนิคการเย็บแผลผ่าตัดที่ดี ในการป้องกันการเกิดภาวะแผลแยก
นอกจากนี้บริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการอักเสบและการติดเชื้อของแผลผ่าตัด ซึ่งทำให้เกิดภาวะแผลแยกได้ เนื่องจากแผลผ่าตัดอยู่บริเวณที่อับชื้น รวมทั้งอยู่ใกล้ทางเดินปัสสาวะและทางเดินอุจจาระ ซึ่งมีแบคทีเรียชนิดต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้ ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อ โดยการฉีดยาปฏิชีวนะก่อนการผ่าตัด และการรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งสําคัญ
ซึ่งในการผ่าตัดจะทำการผ่าตัด โดยการการฉีดยาชาเฉพาะที่ร่วมกับการฉีดยานอนหลับเข้าหลอดเลือดดํา ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดจึงต้องงดน้ำและอาหาร ก่อนทำการผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงในการสำลักเศษอาหาร ในระหว่างหรือหลังจากการทำผ่าตัด
ใครที่ไม่แนะนำให้ทำการผ่าตัด และต้องปรึกษแพทย์ก่อนการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี
หัวข้อที่น่าสนใจ โปรดคลิ๊ก
ต้องการดูรูปก่อนและหลังการผ่าตัด
2) อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขั้นตอนก่อนการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี
3) ขั้นตอนการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี
การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยการให้ยานอนหลับชนิดฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ เมื่อผู้เข้ารับการผ่าตัดหลับ แพทย์จึงจะฉีดยาชาที่บริเวณที่จะทําการผ่าตัด คือบริเวณวงรอบของ เยื่อพรหมจารี หลังยาชาออกฤทธิ์ แพทย์จึงจะทําการผ่าตัด โดยการเลาะตามขอบของเยื่อพรหมจารีที่ฉีกขาดตามจุดต่างๆ โดยรอบ แล้วเย็บซ่อมด้วยไหมละลายช้าเส้นเล็ก เพื่อห้ามเลือดตามจุดต่างๆ โดยรอบของเยื่อพรหมจารีที่ฉีกขาด โดยจะทําการเย็บทั้งหมดอย่างน้อย 2-3 รอบ เพื่อป้องกันภาวะแผลแยก แล้วมีเลือดออกผิดปกติ
4) ขั้นตอนหลังการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี
หลังการผ่าตัดผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้น 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเมื่อผู้เข้ารับการผ่าตัดรู้สึกตัวดี และตรวจแผลผ่าตัดแล้ว ไม่พบว่ามีเลือดออกจากแผลผ่าตัดผิดปกติ รวมทั้งเมื่อมีการถามตอบ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถตอบคําถามได้ถูกต้อง–แพทย์จึงจะอนุญาตให้กลับบ้านได้ ทั้งนี้ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจมีอาการมึนงง, เวียนศีรษะ, คลื่นไส้หรืออาเจียน จากการฉีดยานอนหลับ ควรนอนพักเพื่อสังเกตอาการจนกว่าอาการจะดีขึ้น และเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ผู้เข้ารับการผ่าตัดไม่ควรขับขี่ยานพาหนะหลังการผ่าตัด
ในผู้เข้ารับการผ่าตัดบางราย ที่กังวลกับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดหรือพักอยู่ต่างจังหวัด แพทย์อาจจะแนะนําให้นอนพักโรงพยาบาล 1 คืน หลังเสร็จจากการผ่าตัด มีความจำเป็นที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะไว้ เพื่อป้องกันอาการปัสสาวะลำบากหลังการผ่าตัด ซึ่งผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้น 1-2 ชั่วโมง เมื่อรู้สึกตัวดี แพทย์จึงจะอนุญาตให้ผู้เข้ารับการผ่าตัด กลับไปนอนพักสังเกตอาการต่อที่ตึกผู้ป่วยใน
ที่ตึกผู้ป่วยใน ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัด, ยาแก้อักเสบ ที่ช่วยลดอาการปวดแผลผ่าตัด และยาพาราเซตามอล ที่ช่วยแก้ปวด กรณีผู้เข้ารับการผ่าตัดมีอาการปวดแผลมาก อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังการรับประทานยาแก้ปวด ผู้เข้ารับการผ่าตัดก็จะได้รับยาแก้ปวดชนิดฉีด เพื่อบรรเทาอาการปวด
ในวันรุ่งขึ้นหลังการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการถอดสายสวนปัสสาวะ หลังจากนั้นถ้าผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถปัสสาวะได้เอง และหลังการตรวจแผลผ่าตัดแล้ว ไม่พบว่ามีเลือดออกจากแผลผ่าตัดมากผิดปกติ รวมทั้งเมื่อมีการสอบถาม เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถตอบคําถามได้ถูกต้อง แพทย์หญิง วิทัศศนา จึงจะอนุญาตให้กลับบ้านได้
การผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี เป็นหนึ่งในศัลยกรรมตกแต่งทางนรีเวช (ศัลยกรรมจุดซ่อนเร้น) ที่มีความซับซ้อนและละเอียดมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยต้องอาศัยความรู้และทักษะการผ่าตัดที่ดี เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ศัลยแพทย์โดยส่วนมากขาดประสบการณ์ หรือมีประสบการณ์ทางด้านศัลยกรรมเพื่อความงามประเภทนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นผู้เข้ารับบริการจำเป็นต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของแพทย์ที่จะทำการผ่าตัด