การผ่าตัด แก้ไขภาวะ ปัสสาวะเล็ด โดย TVT-O

การผ่าตัด แก้ไขภาวะ ปัสสาวะเล็ด โดย TVT-O คืออะไร และช่วยแก้ปัญหาอะไร? 

ผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด TVT-Oการผ่าตัด แก้ไขปัสสาวะเล็ด โดยสายเทปคล้องใต้ท่อปัสสาวะ TVT-O (Tension-free Vaginal Tape Obturator)  คือ ขั้นตอนในการผ่าตัดรักษ าภาวะปัสสาวะเล็ด ในเวลาที่มีการ ไอ, จาม, ออกกำลังกาย หรือ ยกของหนัก เป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัย อัตราความสำเร็จสูงถึงกว่า 95 %

ในการผ่าตัดจะทำการผ่าตัด โดยการสอดแผ่นเทปสายคล้องท่อปัสสาวะ ออกมาทาง Obturator Foramen แล้วโผล่มาที่ต้นขาทั้งสองข้าง โดยเทปสายคล้องจะไม่มีการถูกเย็บเข้าไปในกล้ามเนื้อ, เอ็น หรือกระดูก ซึ่งนี่ก็คือเหตุผลที่เรียกการผ่าตัดนี้ว่า “Tension Free Vaginal Tape Obturator” 

การผ่าตัด แก้ไขภาวะ ปัสสาวะเล็ด เวลาไอ จาม ทำได้ 2 วิธี คือ

1) วิธีการไม่ผ่าตัด ได้แก่

  • การใส่ตัวพยุงในช่องคลอด (Vaginal Pessary)
  • การขมิบกล้ามเนื้อของช่องคลอด (Kegel Exercise) ซึ่งเป็นวิธีปลอดภัยที่สุด แต่ต้องใช้เวลานานอย่างน้อย 3-6 เดือน จึงจะได้ผลและผลที่ได้มีขีดจำกัด
  • การใช้ เลเซอร์ รักษา ภาวะ ไอ, จาม ปัสสาวะเล็ด แบบที่ไม่มีบาดแผล เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งยังไม่เคยมีการนำมาใช้ในงาน ศัลยกรรมนรีเวชทางเดินปัสสาวะ มาก่อน ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งทางนรีเวช หรือ ศูนย์จุดซ่อนเร้น โรงพยาบาล MasterWork ถือเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลในเมืองไทย ที่เปิดให้บริการใช้ เลเซอร์รักษา ภาวะไอ จาม ปัสสาวะเล็ด แบบที่ไม่มีบาดแผล อย่างไรก็ตามการรักษา ภาวะไอ จาม ปัสสาวะเล็ด โดยวิธีนี้มีข้อจำกัด ควรทําในสุภาพสตรีที่มีโรคประจำตัว ที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัด TVT-O ได้ และมี ภาวะไอ จาม ปัสสาวะเล็ด ชนิดที่ไม่รุนแรง ทั้งนี้ผลการรักษาที่ได้เป็นผลมาจากพลังงาน เลเซอร์  ที่มีความร้อน ที่ส่งไปยังบริเวณปากช่องคลอดและในช่องคลอด ซึ่งส่งผลให้คอลลาเจนเกิดการหดตัวลงในทันที ทำให้เยื่อบุช่องคลอดหดสั้นลงและมีความหนาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผนังช่องคลอดแข็งแรงขึ้น สามารถพยุงท่อปัสสาวะได้ดีขึ้น อีกทั้งเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างคอลลาเจน ในบริเวณรอบๆ ช่องคลอด ซึ่งเนื้อเยื่อช่องคลอดของผู้หญิงแต่ละคน ก็อาจมีการตอบสนองต่อเลเซอร์ สร้างคอลลาเจนได้ไม่เท่ากัน และการใช้ เลเซอร์รักษา ภาวะไอ จามปัสสาวะเล็ด ไม่สามารถรักษาอาการ ปัสสาวะเล็ด ได้ถาวร–ทำ 1 คอร์ส สามารถอยู่ได้ 1 ปี (ส่วนใหญ่ 1 คอร์ส จะทำ 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 2-4 สัปดาห์)

2) การผ่าตัด ที่นิยมและได้ผลในปัจจุบัน ได้แก่

  • การผ่าตัดเย็บเนื้อเยื่อบริเวณใกล้คอปัสสาวะ ไปยึดติดกับกระดูกหัวหน่าว
  • การฉีดสารเข้าไปที่บริเวณรอบๆ คอกระเพาะปัสสาวะ หรือ หูรูดท่อปัสสาวะ ผ่านทางท่อปัสสาวะ เพื่อให้บริเวณดังกล่าวนูนหนาขึ้น จนท่อปัสสาวะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลดลง สารที่ใช้ฉีดมีหลายชนิด รวมทั้งไขมันหรือสารเติมเต็ม 
  • การผ่าตัดใส่สายเทปคล้องใต้ท่อปัสสาวะ TVT-O technique หรือ MiniArc technique
  • สําหรับการผ่าตัด A-P รีแพร์  ไม่สามารถรักษาอาการ ปัสสาวะเล็ด ได้ถาวร ผู้เข้ารับการผ่าตัด มีโอกาสที่จะมี ปัสสาวะเล็ด ได้อีก ในระยะ 5 ปี หลังการผ่าตัด

 

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง-ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ดโดย TVT-O

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง พยุงท่อปัสสาวะได้ 

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ พยุงท่อปัสสาวะไม่ได้-ต้องการผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ดโดย TVT-O

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ พยุงท่อปัสสาวะไม่ได้ 

 

1) ข้อควรทราบและการเตรียมตัว ก่อนการผ่าตัด แก้ไขภาวะ ปัสสาวะเล็ด โดยสายเทปคล้องใต้ท่อปัสสาวะ TVT-O

การผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัด เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะปัสสาวะเล็ด ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะหย่อนยานของผนังช่องคลอดด้านหน้า ทําให้ไม่สามารถพยุงท่อปัสสาวะไม่ให้มีการหย่อนตัว ในขณะที่มีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น ขณะ ไอ, จาม หรือยกของหนัก 

เนื่องจากขณะ ไอ, จาม หรือยกของหนัก ก็จะมีแรงดันจากในช่องท้องกดลงมาบนกระเพาะปัสสาวะ–แล้วแรงดันนั้นจะถูกส่งต่อไปที่ปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะนั้นมีแรงดันที่สูงขึ้น และส่งแรงดันไปที่ท่อปัสสาวะและหูรูดท่อปัสสาวะ–ซึ่งท่อปัสสาวะและหูรูดท่อปัสสาวะที่หย่อนตัวนั้น ไม่สามารถปิดกั้นแรงดันปัสสาวะที่ถูกส่งผ่านแรงดันมาจากในกระเพาะปัสสาวะได้ ส่งผลให้มีภาวะปัสสาวะเล็ด

ในช่วงของการปรึกษา ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดจะได้พบกับ แพทย์หญิง วิทัศศนา เพื่อซักประวัติและตรวจภายใน กรณีที่มีการติดเชื้ออยู่ในช่องคลอด เช่น เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ควรรักษาภาวะติดเชื้อในช่องคลอดให้หายก่อนทำการผ่าตัด

หลังการตรวจภายใน ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการอธิบาย เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดปัสสาวะเล็ด, ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัด, การให้ยาระงับความรู้สึก, ประโยชน์ของการผ่าตัด, ผลลัพธ์ที่จะได้รับจากการทำผ่าตัด, ทางเลือกในการรักษา และรายละเอียดเกี่ยวกับการพักฟื้นหลังการผ่าตัด รวมทั้งรายละเอียดของราคาผ่าตัด

หลังจากนั้นผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด จะได้รับการอธิบายเกี่ยวกับ ความเสี่ยง และ ภาวะแทรกซ้อน ทั่วไปของการผ่าตัด ได้แก่ ภาวะเลือดออก, ภาวะแผลติดเชื้อ, ภาวะแผลแยก, ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด, การแพ้ยา หรือสารอื่นๆ ที่ใช้ในการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนจำเพาะของการผ่าตัด ได้แก่ อาการปวดที่ขาทั้งสองข้าง, ภาวะปัสสาวะลำบาก, ต้องใช้เวลาในการปัสสาวะนานกว่าปกติ, ภาวะสายเทปคล้องใต้ท่อปัสสาวะโผล่ และการเกิดรูรั่วระหว่างท่อปัสสาวะกับช่องคลอด

ไม่แนะนำให้ทำการผ่าตัด ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและในกรณีที่ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ที่ไม่ได้แจ้งแฟนหรือคู่สมรส ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาความไม่เข้าใจกัน เนื่องจากต้องงดการมีเพศสัมพันธ์หลังการผ่าตัด รวมทั้งไม่แนะนำให้ทำการผ่าตัด ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และวางแผนที่จะตั้งครรภ์หลังการผ่าตัด เนื่องจากผลของการผ่าตัดจะเปลี่ยนแปลงไป หลังการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร

การผ่าตัดนี้มีข้อจำกัด และไม่สามารถรับประกันผลความสำเร็จได้ 100% ทั้งหมด เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่าง ที่มีผลต่อความสำเร็จของการผ่าตัด โดยเฉพาะในผู้เข้ารับการผ่าตัด ที่มีภาวะปัสสาวะเล็ดแบบผสม หรือในผู้ที่มีภาวะของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวผิดปกติร่วมด้วย ที่จำเป็นต้องให้การรักษา โดยการรับประทานยาต่อ และนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของผู้เข้ารับการผ่าตัด เพราะโรคประจำตัวบางชนิด ส่งผลต่อกระบวนการหายของแผลผ่าตัด รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับการดูแลแผลผ่าตัดที่ถูกต้องของผู้เข้ารับการผ่าตัด ในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยเกินการควบคุมของแพทย์ ซึ่งแพทย์จะแจ้งให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดรับทราบก่อนการผ่าตัด

ในกรณีที่การผ่าตัด มีผลการผ่าตัดคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งกรณีเป็นความต้องการของผู้เข้ารับการผ่าตัด ที่ต้องการผ่าตัดแก้ไข เนื่องจากไม่พึงพอใจผลการผ่าตัด ก็อาจทำได้โดยการพิจารณาตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ทั้งนี้ผู้เข้ารับการผ่าตัดและแพทย์ควรจะปรึกษาร่วมกัน ซึ่งผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการผ่าตัดแก้ไขต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังการผ่าตัด โดยเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ายา, ค่าเครื่องมือผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด TVT-O, ค่าห้องและค่าใช้จ่ายทางวิสัญญีตามจริง

บริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากภาวะเลือดออกผิดปกติ ในระหว่างผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัดได้ เนื่องจากเป็นการผ่าตัดบริเวณในช่องคลอดที่มีเส้นเลือดค่อนข้างมาก ซึ่งภาวะเลือดออกผิดปกติ อาจพบได้ประมาณน้อยกว่าร้อยละ 1 แต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย ดังนั้นผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ไม่ควรรับประทานยาในกลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่มยาลดการแข็งตัวของเลือด 10-15 วัน ก่อนหรือหลังการผ่าตัด

อีกทั้งบริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากภาวะแผลแยกได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากแผลผ่าตัดอยู่ในบริเวณที่จะได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหว ผู้เข้ารับการผ่าตัด ควรจะต้องหยุดทำงาน และงดกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำเป็นประจำในช่วง 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด รวมทั้งในส่วนของแพทย์ที่ทำผ่าตัดจำเป็นต้องมีความระมัดระวังในการผ่าตัด และมีเทคนิคการเย็บแผลผ่าตัดที่ดี ในการป้องกันการเกิดภาวะแผลแยก 

นอกจากนี้บริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากการอักเสบและการติดเชื้อของแผลผ่าตัด ซึ่งทำให้เกิดภาวะแผลแยกได้ เนื่องจากแผลผ่าตัดอยู่ใกล้ทางเดินปัสสาวะและทางเดินอุจจาระ ซึ่งมีแบคทีเรียชนิดต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้ ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อ โดยการฉีดยาปฏิชีวนะก่อนการผ่าตัด และการรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งสําคัญ 

การผ่าตัดนี้จะทำการผ่าตัด โดยการดมยาสลบ ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดจึงต้องงดน้ำและอาหาร ก่อนทำการผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงในการสำลักเศษอาหาร ในระหว่างหรือหลังจากการทำผ่าตัด

เมื่อพร้อมที่จะเข้ารับการผ่าตัด โปรดโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อนัดวันผ่าตัด หากผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดการผ่าตัด มีโรคประจำตัว หรือมีประวัติการแพ้ยา กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่และแพทย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

 

หัวข้อที่น่าสนใจ โปรดคลิก

เกี่ยวกับภาวะ ปัสสาวะเล็ด

คำถามบ่อยเกี่ยวกับ การผ่าตัด TVT-O

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ หลังการผ่าตัด แก้ไขภาวะ ปัสสาวะเล็ด TVT-O

2) อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขั้นตอนก่อนการผ่าตัด แก้ไขภาวะ ปัสสาวะเล็ด โดยสายเทปคล้องใต้ท่อปัสสาวะ TVT-O

3) ขั้นตอนการผ่าตัด แก้ไขภาวะ ปัสสาวะเล็ด โดยสายเทปคล้องใต้ท่อปัสสาวะ TVT-O

 

เครื่องมือผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด TVT-O

เครื่องมือผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด TVT-O

การผ่าตัดจะทำการผ่าตัด โดยการดมยาสลบ ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที เมื่อผู้เข้ารับการผ่าตัดหลับ แพทย์จึงจะทําการผ่าตัด โดยการเริ่มจากการผ่าตัดบริเวณผนังช่องคลอดด้านหน้า แผลผ่าตัดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นจึงจะทําการผ่าตัด โดยการใช้เครื่องมือพิเศษ สอดแผ่นเทปสายคล้องผ่านแผลดังกล่าว เพื่อคล้อง (พยุง) ใต้ท่อปัสสาวะ (ที่บริเวณกึ่งกลางท่อปัสสาวะ) โดยสอดแผ่นเทปสายคล้องผ่านออกมาทาง Obturator Foramen แล้วโผล่มาที่ต้นขาทั้งสองข้าง (ดังรูป) หลังจากนั้นแพทย์จะทำการเย็บปิดแผลผ่าตัด บริเวณผนังช่องคลอดด้านหน้า ด้วยไหมละลายช้าตามความยาวแผล 1 เซนติเมตร โดยทําการเย็บทั้งหมด 2-3 ชั้น เพื่อป้องกันการแยกของแผลผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจำเป็นต้องใส่ผ้ากอซ (vagina pack ) ในช่องคลอด 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด เพื่อช่วยห้ามเลือด และใส่สายสวนปัสสาวะไว้ 1 วันหลังการผ่าตัด

 

การผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด TVT-O

ภาพ 1) สายเทปคล้องใต้ท่อปัสสาวะ
2) แสดงการผ่าตัดสอดแผ่นเทป ผ่านผนังช่องคลอดด้านหน้า
3) ภาพจำลองหลังเสร็จจากการผ่าตัด

 

การผ่าตัด แก้ไขภาวะ ปัสสาวะเล็ด โดยสายเทปคล้องใต้ท่อปัสสาวะ TVT-O เป็นหนึ่งในกลุ่มของ ศัลยกรรมนรีเวชทางเดินปัสสาวะ ที่มีความซับซ้อนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยต้องอาศัยความรู้, ความเข้าใจของโครงสร้างทางกายวิภาคของอวัยวะต่างๆ ในอุ้งเชิงกราน และทักษะการผ่าตัดที่ความแม่นยำเป็นอย่างมาก เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์  หรือมีประสบการณ์ทางด้านศัลยกรรมประเภทนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นผู้เข้ารับบริการจำเป็นต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของแพทย์ที่จะทำการผ่าตัด

อ่านต่อ>>

ข้ามไปยังทูลบาร์