ความเป็นจริง…เกี่ยวกับ ภาวะปัสสาวะเล็ด ในคุณผู้หญิง
ปัสสาวะเล็ด เวลามีการไอ, จาม, หรือออกกำลังกาย เกิดเนื่องจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งเส้นเอ็นที่พยุงอวัยวะ ในอุ้งเชิงกราน ของผู้หญิงอ่อนแอลง ทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกราน เกิดการเคลื่อนตัวลงจากตำแหน่งปกติ หรือที่เรียกว่าเกิด ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ทำให้เกิด ภาวะปัสสาวะเล็ด ในคุณผู้หญิง และคุณอาจจะต้องอาศัย การผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว
มีผู้หญิงหลายล้านคนบนโลกใบนี้ ต้องเผชิญกับ อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือ ปัสสาวะเล็ด เวลามีการไอ, จาม, หัวเราะ, ออกกำลังกาย หรือ ยกของหนัก ร่วมกับอาการ ปัสสาวะราด แบบไม่รู้ตัว ที่ซึ่งปกติแล้วจะพบในคนอายุมาก แต่ก็สามารถพบได้ ในผู้หญิงอายุน้อย ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ต้องรู้ว่าภาวะ ปัสสาวะเล็ด นี้สามารถรักษาได้ มีการรักษาอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งสามารถช่วยให้คุณควบคุมอาการได้ การดูแลและการรักษาทางการแพทย์อย่างถูกต้อง จะช่วยให้คุณ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง ถ้าภาวะปัสสาวะเล็ด มีผลกับการทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันของคุณผู้หญิง อย่ารีรอที่จะพบแพทย์ การรักษาทางการแพทย์ จะช่วยให้คุณสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ หรือหยุดปัญหาเนื่องจากภาวะปัสสาวะเล็ดราดได้
เกี่ยวกับการทำงานของ กระเพาะปัสสาวะ กับสาเหตุการเกิด ปัสสาวะเล็ด เวลามีการไอ, จาม, หรือออกกำลังกาย ในคุณผู้หญิง
- เมื่อร่างกายมีการสร้างน้ำปัสสาวะที่ไตทั้ง 2 ข้างเกิดขึ้น ปัสสาวะก็จะไหลผ่านท่อไต มาเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีปริมาณน้ำปัสสาวะที่เก็บกักไว้มากระดับหนึ่ง คุณจะเริ่มรู้สึกปวดปัสสาวะ และเมื่อความรู้สึกนี้เพิ่มขึ้น จนถึงระดับที่มากระดับหนึ่ง สมองจะส่งสัญญาณ มาสั่งกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะให้หดตัว พร้อมๆกับสั่งหูรูดท่อปัสสาวะให้คลายตัว เพื่อให้น้ำปัสสาวะไหลออกมา ผ่านทางท่อปัสสาวะ และออกมาภายนอกร่างกาย ซึ่งโดยปกติร่างกายของคนปกติทั่วไป ต้องมีการขับถ่ายปัสสาวะประมาณ 4 – 7 ครั้ง ในตอนกลางวัน และ 1-2 ครั้ง ในตอนกลางคืน
- กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ จะได้รับการพยุงไม่ให้หย่อนตัว โดยกล้ามเนื้อในผนังช่องคลอดด้านหน้า และก็เช่นเดียวกันหูรูด ท่อปัสสาวะ จะสามารถหดตัวปิดได้ ต้องอาศัยการพยุงที่แข็งแรง จากกล้ามเนื้อใน อุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อผนัง ช่องคลอด ด้านหน้า เพื่อช่วยพยุงท่อปัสสาวะ และป้องกันปัสสาวะไม่ให้ไหลออกมา ขณะ ไอ, จาม และ ออกกำลังกาย
- ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่เกิด ภาวะหย่อนยาน ของผนังช่องคลอดด้านหน้า ทําให้ไม่สามารถพยุง ท่อปัสสาวะไ ม่ให้มีการหย่อนตัว ในขณะที่มีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น ขณะ ไอ, จาม หรือ ออกกำลังกาย ก็จะทำให้เกิด ภาวะปัสสาวะเล็ด เนื่องจากแรงดันจากในช่องท้อง ก็จะกระแทกลงมาบน กระเพาะปัสสาวะ–แล้วแรงดันนั้นจะถูกส่งต่อไปที่ปัสสาวะที่อยู่ใน กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะนั้นมีแรงดันที่สูงขึ้น และส่งแรงดันไปที่ ท่อปัสสาวะ และ หูรูดท่อปัสสาวะ–ซึ่ง ท่อปัสสาวะ และ หูรูดท่อปัสสาวะ ที่หย่อนตัวนั้น ไม่สามารถปิดกั้นแรงดันปัสสาวะที่ถูกส่งผ่านแรงดันมาจากใน กระเพาะปัสสาวะ ได้
ชนิดของ ภาวะปัสสาวะเล็ด ในรูปแบบต่างๆ
1) ปัสสาวะเล็ด จากการมีแรงดันเพิ่มในช่องท้อง
- คือ การที่ปัสสาวะไหลออกมา โดยไม่ตั้งใจ เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้มีแรงดันเพิ่มขึ้นในช่องท้อง หรือแรงกดที่กระเพาะปัสสาวะ เช่น ขณะที่ จาม, หัวเราะ, ไอ, ยกวัตถุหนักๆ หรือจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ
- สตรีอย่างน้อยร้อยละ 10-20 มีอาการ ปัสสาวะเล็ด ขณะทำกิจกรรมต่างๆ เนื่องจากการมีแรงดันเพิ่มในช่องท้อง และส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัดที่ง่ายและมีประสิทธิภาพดี
- อาการ ปัสสาวะเล็ด แบบนี้ ปกติแล้วจะพบได้ในสตรีทุกกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุมาจาก ภาวะอุ้งเชิงกราน อ่อนแอ ซึ่งเป็นผลมาจากการมีบุตรหลายคน, ภาวะไอเรื้อรัง, คนอ้วน หรือ ภาวะหมดประจำเดือน
2) ปัสสาวะเล็ด แบบกลั้นไม่อยู่
- หรือที่เรียกว่า ภาวะปัสสาวะราด คือ ภาวะที่คุณผู้หญิงไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ทำให้ไปห้องน้ำไม่ทัน มีปัสสาวะราด ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยและเร็วกว่าปกติ โดยสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาทซึ่งควบคุมการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวบ่อยและบีบตัวไวกว่าปกติ
3) ปัสสาวะเล็ด แบบผสม
- ผู้หญิงบางคนอาจจะประสบกับ อาการรวมทั้งสองแบบข้างต้น ( Mixed Urinary Incontinence)
4) ปัสสาวะเล็ด เนื่องจากปัสสาวะค้างมากเกินไป
- ผู้หญิงกลุ่มนี้จะประสบกับ อาการปัสสาวะไหลโดยไม่ตั้งใจ เนื่องจากน้ำปัสสาวะล้นกระเพาะปัสสาวะ โดยไม่มีความรู้สึกปวดปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากระบบประสาท ที่ควบคุมการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะไม่ทํางาน
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง
ท่อปัสสาวะได้รับการพยุงเป็นอย่างดีจึงไม่ทำให้ ปัสสาวะเล็ด
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ
พยุงท่อปัสสาวะไม่ได้ จึงทำให้มีปัสสาวะเล็ด
การวินิจฉัยภาวะปัสสาวะเล็ด ต้องอาศัยสิ่งต่อไปนี้
- การซักประวัติ และตรวจร่างกาย (History and Physical Examination) โดยละเอียด
- การตรวจเลือด และการตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจค้นเกี่ยวกับ ความผิดปกติบางอย่างทางห้องปฏิบัติการ
- การตรวจสอบโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) กับระบบอวัยวะสืบพันธุ์ และระบบทางเดินปัสสาวะ
- การส่องกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะ (Urethrocystoscopy) อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะด้านในการตรวจสอบการเคลื่อนตัวของปัสสาวะ (Urodynamic studies)
- การตรวจสอบการเคลื่อนตัวของปัสสาวะ (Urodynamic studies) เป็นการตรวจสอบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้เวลา 40 ถึง 60 นาที และไม่มีอาการเจ็บปวด
- การตรวจสอบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ โดยการวัดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ (Residual Urine) และโดยการวัดความสามารถ ในการพยุงท่อปัสสาวะของกล้ามเนื้อในช่องคลอด (Cotton swab test)
กล่าวโดยสรุปคือ แพทย์สามารถให้การวินิจฉัย ภาวะปัสสาวะเล็ด ได้จากการสอบถามอาการผิดปกติ ร่วมกับการตรวจภายใน และการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์จะอาศัยผลลัพธ์ที่ได้ แล้วทำการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะนี้ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
ข้าพเจ้ารู้ได้อย่างไรว่า ข้าพเจ้ามี ภาวะปัสสาวะเล็ด?
มีคำถามที่จะช่วยบอกว่า คุณอาจจะกำลังมีปัญหาอยู่กับการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ โปรดถามคำถามเหล่านี้กับตัวของคุณ
- คุณมีปัสสาวะไหลซึมอยู่ตลอดเวลา หรือไม่?
- ปัสสาวะของคุณไหล โดยไม่คาดคิด ใช่ไหม?
- ปัจจุบันคุณกำลังสวมแผ่นซับใน เพื่อป้องกันการรั่วซึม ใช่หรือไม่?
- อาการปัสสาวะเล็ด ทำให้คุณเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของคุณ ใช่ไหม?
- คุณมีปัญหาเวลากลั้นปัสสาวะ ซึ่งทำให้คุณต้องรีบไปเข้าห้องน้ำ ใช่ไหม?
- คุณมีปัสสาวะเล็ดระหว่างการไอ, จาม, หัวเราะ, ย่อตัว, ออกกำลังกาย หรือยกของหนัก?
- เมื่อคุณวางแผนการเดินทาง หรือออกไปข้างนอก คุณตัดสินใจที่จะไปในที่ ที่มีห้องน้ำด้วย ใช่ไหม?
ถ้าคุณตอบว่า “ใช่” ในคำถามต่างๆ เหล่านี้ ขั้นต่อไปของคุณ ต้องปรึกษากับคุณหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านนรีเวชทางเดินปัสสาวะ
หัวข้อที่น่าสนใจ
การรักษา ภาวะปัสสาวะเล็ด จากการมีแรงดันเพิ่มในช่องท้องทำได้ 2 วิธี คือ
1) วิธีการไม่ผ่าตัด
1.1) การใส่ตัวพยุงในช่องคลอด (Vaginal Pessary) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ปัสสาวะเล็ด ผู้ป่วยสามารถใส่อุปกรณ์เหล่านี้ เฉพาะตอนออกกำลังกายหรือใส่ไว้ตลอดเวลา อาจช่วยป้องกันหรือลดอาการปัสสาวะเล็ดได้ อย่างไรก็ตามการใส่ตัวพยุงใน ช่องคลอด เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการ ปัสสาวะเล็ด เพียงเล็กน้อย หรือผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรอการผ่าตัด
1.2) การขมิบกล้ามเนื้อของช่องคลอด (Kegel Exercise) ซึ่งเป็นวิธีปลอดภัยที่สุด เป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการ ปัสสาวะเล็ด จากการมีแรงดันเพิ่มในช่องท้อง พบว่าส่วนใหญ่ของสตรีมีอาการ ปัสสาวะเล็ด ลดลง หลังได้รับการฝึกบริหารกล้ามเนื้อของช่องคลอด (Kegel Exercise) อย่างไรก็ตามผลลัพธ์สูงสุดที่ได้รับจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่นเดียวกับการทำกายบริหารอื่นๆ โดยทั่วไปการฝึกบริหารกล้ามของช่องคลอด (Kegel Exercise) จะเห็นผลดีที่สุดเมื่อมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอนาน 3-6 เดือน
1.3) การใช้เลเซอร์รักษาภาวะ ไอ จาม ปัสสาวะเล็ด แบบที่ไม่มีบาดแผล ในสุภาพสตรีโดยไม่ต้องเข้ารับ การผ่าตัด TVT-O หรือ การผ่าตัด MiniArc แต่ก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน คือ ควรใช้รักษาในสุภาพสตรีที่มี ภาวะไอ จามปัสสาวะเล็ดที่ไม่รุนแรง หรือในสุภาพสตรีที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ นอกจากนี้การทำเลเซอร์นี้มีข้อเสีย คือผลการรักษาที่ได้ได้ผลเพียงชั่วคราวทำ 1 คอร์ส สามารถช่วยรักษาภาวะ ไอ จาม ปัสสาวะเล็ดได้ 1 ปี
2) วิธีการผ่าตัด
การผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด ถือเป็นการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนและละเอียดมากที่สุดชนิดหนึ่ง ที่มีการให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยแพทย์ที่ผ่าตัดต้องมีความรู้ เกี่ยวกับโครงสร้างทางกายวิภาค และมีทักษะการผ่าตัดที่มีความแม่นยำ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
1.1) การผ่าตัดเย็บเนื้อเยื่อของ ช่องคลอด ที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะไปแขวนยึดกับด้านหลังของกระดูกหัวหน่าว ด้วยวัสดุที่ไม่ละลาย เพื่อพยุงบริเวณคอ กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะไว้ ทำให้ไม่มีอาการ ปัสสาวะเล็ด ขณะมีแรงดันเพิ่มในช่องท้อง
1.2) การฉีดสาร Bulking agents เพื่อป้องกันการเปิดตัวของ ท่อปัสสาวะ ก่อนกำหนด เป็นการฉีดสารเข้าไปที่บริเวณรอบๆ คอ กระเพาะปัสสาวะ และหูรูด ท่อปัสสาวะ ผ่านทางท่อปัสสาวะ เพื่อให้นูนหนาขึ้นจนท่อปัสสาวะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลดลง สารที่ใช้ฉีดมีหลายชนิด รวมทั้งไขมันและคอลลาเจน สามารถทำการฉีดสารเหล่านี้ได้ที่คลินิกผู้ป่วยนอกได้ โดยไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล โดยอาจทำหัตถการดังกล่าวนี้ ภายใต้การให้ยาสลบหรือให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ ทั้งนี้พบว่าบางครั้งอาจจำเป็นต้องฉีดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง
1.3) การผ่าตัดตกแต่งทางด้านหน้า และ ด้านหลังของ ช่องคลอด เป็นการผ่าตัดเอาผนังช่องคลอดส่วนเกินทั้งด้านหน้าและด้านหลังของผนังช่องคลอดออกไป แล้วเย็บซ่อมแผลผ่าตัดตลอดตามแนวยาวของช่องคลอด ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนดีขึ้น แต่ในกรณีของการรักษาเรื่องภาวะไอ จามปัสสาวะเล็ดนั้น การผ่าตัดชนิดนี้ไม่สามารถรักษาอาการดังกล่าวได้ถาวร ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะมีปัสสาวะเล็ดได้อีกภายในระยะเวลา 5 ปีหลังการผ่าตัด
1.4) การผ่าตัดใส่สายเทปคล้องใต้ท่อปัสสาวะ TVT-O หรือ MiniArc คือ ขั้นตอนในการผ่าตัดแบบใหม่ล่าสุดและปลอดภัย สำหรับการผ่าตัดแก้ไข ภาวะปัสสาวะเล็ด เป็นนวัตกรรมที่ใช้พื้นที่ในการผ่าตัดน้อยที่สุด อัตราความสำเร็จ สูงถึง 85% -90 %
แนวทางการรักษา ภาวะปัสสาวะเล็ด ดังกล่าวทั้งหมด ได้แก่ การใส่ตัวพยุงในช่องคลอด (Vaginal Pessary) การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยการขมิบ ช่องคลอด (Kegel Exercise) การทําเลเซอร์รักษา ภาวะปัสสาวะเล็ด ชนิดที่ไม่รุนแรงและการผ่าตัด โดยวิธีต่างๆเหล่านี้ เป็นนวัตกรรมการรักษาที่เป็นมาตรฐานทางการแพทย์ และเนื่องด้วยความต้องการที่จะแก้ปัญหา ภาวะปัสสาวะเล็ด มีเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาวิธีการและเทคนิคใน การแก้ไข ภาวะปัสสาวะเล็ด โดยวิธีอื่นๆ เกิดขึ้น ซึ่งในแง่ของการศึกษายังไม่สามารถสรุปถึงประโยชน์ของนวัตกรรมดังกล่าวได้