1) คำแนะนําเกี่ยวกับ ข้อมูลที่ควรทราบ ก่อนการผ่าตัด ศัลยกรรมจุดซ่อนเร้น โดยเลเซอร์
ก่อนการผ่าตัด จะมีการซักประวัติ, ตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจภายใน ในผู้ที่ต้องการผ่าตัดที่พบมีการติดเชื้อในช่องคลอดก่อนผ่าตัด เช่น เชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย ควรรักษาภาวะติดเชื้อในช่องคลอดให้หายก่อนทำการผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัด
ในวันที่เข้ารับคำปรึกษาก่อนเข้ารับการผ่าตัด กรุณานำสำเนารายการปัญหาทางการแพทย์ของผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ที่ได้รับจากแพทย์ที่ดูแลในเบื้องต้นจากที่ใดๆ ก็ตาม มาให้แพทย์ที่คุณเข้ารับคำปรึกษาด้วย
แพทย์จะอธิบายรายละเอียดของการผ่าตัด เกี่ยวกับวิธีการผ่าตัด, ขั้นตอนการผ่าตัด, ภาวะแทรกซ้อนที่สําคัญที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด และการดูแลหลังการผ่าตัด ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ควรอ่านและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดทั้งหมดโดยละเอียด ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
การผ่าตัดชนิดนี้มีข้อจำกัด ไม่สามารถรับประกันผลและความพึงพอใจในการผ่าตัดของผู้เข้ารับการผ่าตัดแต่ละคนได้ทั้งหมด เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อความสำเร็จของการผ่าตัด
กรณีการผ่าตัดมีผลคลาดเคลื่อนหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน การพิจารณาผ่าตัดแก้ไขอาจทำได้ โดยการพิจารณาตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ทั้งนี้ผู้เข้ารับการผ่าตัดและแพทย์ ควรจะปรึกษาร่วมกัน
ไม่แนะนำให้ทำการผ่าตัด ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และไม่แนะนําให้ทําการผ่าตัด ในกรณีที่ไม่ได้ปรึกษากับคู่สมรส เนื่องจากต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ ทําให้อาจมีโอกาสเกิดความเข้าใจผิดกันได้ รวมทั้งผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ต้องไม่ตั้งครรภ์ หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ แม้จะไม่เคยมีรายงานถึงผลเสียของการผ่าตัดต่อทารกในครรภ์ กรณีผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด มีโรคประจำตัวหรือมีประวัติการแพ้ยา กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ซึ่งการเตรียมตัวที่สําคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ควรทราบคือควรมีเวลาพักและหยุดการทํางาน หลังการผ่าตัดอย่างน้อย 2-3 วัน หรือ 3-5 วัน หรือ 5-7 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของการผ่าตัด
2) คำแนะนําเกี่ยวกับ การใช้ยา ก่อนการผ่าตัด ศัลยกรรมจุดซ่อนเร้น โดยเลเซอร์
• 2 อาทิตย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด:
หยุด สูบบุหรี่และ หยุด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งสารนิโคตินในบุหรี่นั้นจะมีผลต่อการไหลเวียนของเลือด และรบกวนกระบวนการหายของแผลผ่าตัด และการดื่มแอลกอฮอล์จะลดประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อที่ให้ ในการป้องกันการติดเชื้อก่อนและหลังการผ่าตัด
• 1 อาทิตย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด:
หยุดใช้ยาแอสไพริน และยาที่มีส่วนประกอบของแอสไพรินทั้งหมด (เช่น Anacin, Excedrin, Pepto-Bismol) ตรวจสอบยาลดไข้หรือแก้ปวดที่ข้างขวด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีส่วนประกอบของแอสไพริน อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
หยุดใช้ยา nonsteroidal anti-inflammatory ทั้งหมดดังต่อไปนี้ เช่น Etodolac, Fenoprofen, Ibuprofen, Motrin, Ketorolac, Maproxen , Meclofenarnate, Ponstan, Naproxen
• เช้าในวันเข้ารับการผ่าตัด:
ถ้าผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัดขับรถเป็นระยะทางไกลเพื่อมาผ่าตัด ห้ามรับประทาน ยาเบาหวาน และ ควรงดฉีด INSULIN ในตอนเช้า กรุณารับประทานยาตอนเช้าชนิดอื่นตามปกติ
ถ้าผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีนัดผ่าตัดในตอนบ่าย อนุญาตให้จิบน้ำเปล่าได้ และรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่ายได้เล็กน้อย รวมทั้งให้รับประทานยาที่เคยรับประทานประจำตามปกติ ในช่วงเช้า
ต้องการดูรูป ก่อน-หลัง การผ่าตัด (โปรดคลิ๊ก)
ศัลยกรรมจุดซ่อนเร้น และ ภาวะแทรกซ้อน
3) คำแนะนําเกี่ยวกับ การงดน้ำและอาหาร ก่อนการผ่าตัด ศัลยกรรมจุดซ่อนเร้น โดยเลเซอร์
• 8 ชั่วโมงก่อนที่จะเริ่มการผ่าตัด:
ห้ามรับประทานอาหารแข็งใด ๆ รวมทั้งน้ำผลไม้ที่มีกาก (เช่น น้ำส้ม nectars) ห้ามดื่มของเหลวที่มีส่วนประกอบของนม กาแฟ, ครีมและเยลลี่
ในผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ที่มีโรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคไตวาย, โรคกรดไหลย้อนในกระเพาะอาหาร หรืออาการแสบร้อนกลางอก ห้ามรับประทานอาหารหรือของเหลวไม่มีกาก รวมถึงน้ำเปล่า, น้ำผลไม้ที่ไม่มีกาก (เช่น แอปเปิ้ล องุ่น), ชาดำและกาแฟดำ เป็นเวลาแปดชั่วโมงก่อนที่จะเริ่มการผ่าตัด ยกเว้นยาที่คุณต้องทานตามปกติ
• 6 ชั่วโมงก่อนที่จะเริ่มต้นการผ่าตัด:
ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ยังคงสามารถดื่มนํ้าเปล่าได้ สามารถทานยาที่คุณต้องทานตามปกติ และห้ามรับประทานอาหาร, เครื่องดื่มที่มีกากหรืออะไรก็ตามทางปาก เหตุผลก็คือว่าเพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น อาการคลื่นไส้หรืออาเจียนขณะที่หลับจากกำรให้ยาในช่วงผ่าตัด ความเสี่ยงที่มีก็คือ อาเจียนของผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด อาจจะไหลเข้าไปในปอด ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น โรคปอดบวม
4) คำแนะนำในวันนัดผ่าตัด ศัลยกรรมจุดซ่อนเร้น โดยเลเซอร์
แจ้งแพทย์ที่จะทำการผ่าตัด ถ้าผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด เผชิญกับสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เริ่มไม่สบาย, มีไข้, เป็นหวัด, มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ, มีอาการท้องร่วง หรือมีภาวะติดเชื้ออื่นๆ ก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัด
กรณีที่ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ เช่น ยาพ่นสำหรับโรคหอบหืด ควรนำติดตัวไปที่โรงพยาบาล ในวันที่จะเข้ารับการผ่าตัด
ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด อาจจะแต่งหน้าอ่อนๆ และไม่ควรปัดมาสคาร่า ในกรณีทาเล็บ กรุณาล้างเล็บมือทั้งสองข้างก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ต้องถอดเครื่องประดับทั้งหมด, แหวนแต่งงานและแหวนอื่นๆ รวมทั้งต้องถอดสิ่งของมีค่าต่างๆ ไว้ที่บ้าน หากว่ามีชิ้นใดที่ไม่สามารถถอดออกได้ จะมีการแปะเทปกาวเอาไว้ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยา กรณีที่มีการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า
กรณีที่ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด สวมคอนแทคเลนส์, แว่นตาหรือเครื่องช่วยฟัง รวมทั้งฟันปลอม กรุณานำกล่องใส่คอนแทคเลนส์และฟันปลอม รวมทั้งน้ำยาสำหรับคอนแทคเลนส์ เพราะต้องถอดออกขณะที่เข้ารับการผ่าตัด
ในกรณีผู้ที่ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ไม่มีโรคประจำตัว แต่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัด คุณจะได้พบกับ แพทย์หญิง วิทัศศนา เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับข้อสงสัยในการผ่าตัดอีกครั้ง โปรดสอบถามข้อสงสัยและรายละเอียดอื่นๆ กรณีไม่แน่ใจหรือกังวลมาก เนื่องจากเหตุผลใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับการผ่าตัด ควรเลื่อนการผ่าตัดไปก่อน
กรณีที่ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัด คุณจะต้องกรอกเอกสารแสดงความยินยอมเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งจะถือเป็นใบอนุญาต ให้ทางเจ้าหน้าที่และแพทย์สามารถทำการผ่าตัดคุณได้ จากนั้นพยาบาลจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด โปรดสอบถามข้อสงสัยอื่นๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ในกรณีผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด มีโรคประจำตัว ซึ่งอายุรแพทย์ประเมินแล้วพบว่าคุณสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ ซึ่งคุณจะได้รับคำแนะนำ เกี่ยวกับขั้นตอนก่อนการเข้ารับการผ่าตัด และการให้ยาระงับความรู้สึกขณะทำผ่าตัดอย่างคร่าวๆ จากนั้นคุณจะต้องกรอกเอกสารแสดงความยินยอมเข้ารับการผ่าตัด โปรดสอบถามข้อสงสัยอื่นๆ
หลังเสร็จเรื่องเอกสารแสดงความยินยอม เจ้าหน้าที่จะนำผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ไปชำระค่าบริการการผ่าตัดทั้งหมดที่แคชเชียร์ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำคุณไปยังตึกผู้ป่วยใน เพื่อเตรียมตัวก่อนเข้าห้องผ่าตัด เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบข้อมูล ชื่อ-นามสกุล,วันเกิด และนำคุณไปที่ห้องพัก รวมทั้งจะช่วยเหลือในการเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อใส่ชุดคลุมผ่าตัด และมอบสายรัดข้อมือสำหรับระบุตัวตนให้กับคุณ
จากนั้นเจ้าหน้าที่พยาบาลจะทำการตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งสัญญาณชีพ ได้แก่ อุณหภูมิ, การหายใจ, ความดันโลหิตและชีพจร ในกรณีผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดไม่มีโรคประจำตัว และไม่ได้รับการประเมินสุขภาพจากอายุรแพทย์ จำเป็นต้องมีการเจาะเลือด เพื่อส่งตรวจทางเคมีขั้นพื้นฐาน รวมทั้งต้องมีการตรวจคลื่นหัวใจและเอ็กซเรย์ปอด ในผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดที่มีอายุมากกว่า 45 ปี
กรณีผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ต้องการฝากเครื่องประดับและของมีค่า รวมทั้งโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้คุณสามารถฝากของมีค่าได้ทั้งหมด ในตู้เซฟของโรงพยาบาล ที่แผนกการเงิน
หลังจากนั้นวิสัญญีแพทย์จะทำการประเมินสุขภาพของผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดโดยรวมอีกครั้ง ทั้งนี้คุณจะได้รับทราบข้อมูล เกี่ยวกับการให้ยาระงับความรู้สึกขณะทำผ่าตัดโดยละเอียดจากวิสัญญีแพทย์ โปรดสอบถามข้อสงสัยอื่นๆ รวมทั้งรายละเอียดของการให้ยาระงับปวดหลังการผ่าตัด
หลังจากเสร็จสิ้นการเตรียมการเหล่านี้แล้ว เจ้าหน้าที่จะนำผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดไปยังบริเวณห้องผ่าตัด ซึ่งคุณจะได้รับการดูแลต่อโดยทีมเจ้าหน้าที่วิสัญญี ในระหว่างที่รอเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องผ่าตัด คุณจะได้รับการฉีดยาปฏิชีวนะภายในหนึ่งชั่วโมงก่อนการทำผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัด
หลังจากเสร็จสิ้นการเตรียมการเหล่านี้แล้ว เจ้าหน้าที่ของห้องผ่าตัดจะนำผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดไปยังห้องผ่าตัด คุณจะได้รับการดูแล โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำห้องผ่าตัดต่อไป
ไม่ต้องกังวลที่จะเกิดความผิดปกติ หรือ ภาวะแทรกซ้อน ถ้าผู้เข้ารับการผ่าตัดปฏิบัติตาม คำแนะนําก่อนและหลังการผ่าตัด ศัลยกรรมจุดซ่อนเร้น โดยเลเซอร์ โดยเคร่งครัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 3-5 วัน ไม่มีความเสี่ยงในด้านขาดความรู้สึกการมีเพศสัมพันธ์ ควรมาพบแพทย์ตามนัด แพทย์จะนัดตรวจดูแผลหลังการผ่าตัด 1-2 สัปดาห์