การผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด คืออะไร และผ่าตัดเพื่ออะไร?
การผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด คือ การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะบกพร่องของผนังช่องคลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษา ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนหรือกระบังลมหย่อน
ซึ่งสาเหตุเกิดเนื่องจากโครงสร้างต่างๆ ที่พยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานนั้นเสื่อมตัวและอ่อนแอลง ทําให้ผนังช่องคลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลังบางลง ส่งผลให้มีก้อนโผล่เข้าไปในช่องคลอด หรือบริเวณปากช่องคลอด –เนื่องจากอวัยวะต่างๆที่อยู่รอบๆผนังช่องคลอด–ดันผนังช่องคลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง (ดังรูป) ทำให้เวลาพิเศษของคุณแย่ลง และคุณอาจจะต้องการ–การผ่าตัดตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ปัจจุบันมีการนำ เลเซอร์ มาใช้ใน การผ่าตัดซึ่งส่งผลให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ และเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเลเซอร์สามารถควบคุมความความลึกของแผลผ่าตัดได้ ทําให้ช่วยลดการเสียเลือด รวมทั้งช่วยลดการทำลายเส้นเลือดที่มาเลี้ยงแผลผ่าตัดและเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านล่างของแผลผ่าตัด ทําให้ส่งผลดีต่อกระบวนการหายของแผลผ่าตัด เมื่อเทียบกับการทำผ่าตัดโดยการใช้ใบมีดแบบดั้งเดิม
สาเหตุและอาการของภาวะกระบังลมหย่อน ที่อาจต้องการการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด
1) สาเหตุของการเกิดภาวะกระบังลมหย่อน ได้แก่ :
- การคลอดลูกหลายคน หรือใช้เวลาในการเบ่งคลอดนาน
- การใช้ปากคีม หรือเครื่องดูดสูญญากาศในการช่วยคลอด
- การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากภาวะหมดประจําเดือน
- การตัดเพื่อขยายปากช่องคลอด ในการคลอดลูก ทําให้ปากช่องคลอดฉีกขาด
- การมีประวัติอาการท้องผูกเรื้อรัง ความเครียดเรื้อรัง–(มีผลกับการเคลื่อนไหว หรือการทำงานของลำไส้)
- เกิดตามหลังการตัดมดลูก เพราะการตัดมดลูก ทําให้มีการตัดหรือเกิดการทําลายโครงสร้างต่างๆ ที่พยุงมดลูก รวมทั้งเอ็นและเนื้อเยื่อที่พยุงช่องคลอดทางด้านบน ที่อยู่รอบๆ ปากมดลูก ที่ช่วยพยุงอวัยวะต่างๆ ในอุ้งเชิงกราน
2) อาการขณะมีเพศสัมพันธ์ เมื่อเกิดภาวะกระบังลมหย่อน :
- มีอาการเจ็บ ขณะที่มีเพศสัมพันธ์
- ขาดความสุข หรือไม่ถึงจุดสุดยอด
- มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ในช่วงระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
- ลดความสามารถ (จำนวนครั้ง) ที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ต่อ 1 สัปดาห์
3) อาการทางลำไส้หรือทางเดินปัสสาวะ เมื่อเกิดภาวะกระบังลมหย่อน :
- มีอาการท้องผูกเรื้อรัง
- รู้สึกมีอาการปวดถ่วงที่ปากช่องคลอด
- มีอาการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะบ่อยๆ
- ปัสสาวะบ่อย หรือรู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา
- รู้สึกว่าถ่ายปัสสาวะ หรือถ่ายอุจจาระได้ไม่หมด
- รู้สึกมีแรงดันที่ปากช่องคลอดและช่องคลอด หรือมีแรงดันที่กระเพาะปัสสาวะ
- มีอาการปัสสาวะเล็ดขณะที่คุณ ไอ, จาม, วิ่งออกกําลังกาย, เวลาทำกีจกรรมทางกายภาพหรือเวลายกของหนัก
การผ่าตัดตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด
ในภาวะอุ้งเชิงกรานที่หย่อนคล้อยทางด้านหน้าการผ่าตัดตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด
ในภาวะอุ้งเชิงกรานที่หย่อนคล้อยทางด้านหลัง
1) ข้อควรทราบและการเตรียมตัว ก่อนการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด
- การผ่าตัดนี้จะช่วยแก้ไขภาวะท่อปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะ, ลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรงหย่อน ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนหรือกระบังลมหย่อน ดีขึ้น และในขณะเดียวกันก็ทำให้ช่องคลอดกระชับขึ้นด้วย ทั้งนี้ในกรณีของการรักษาเรื่องอาการปัสสาวะเล็ดนั้น การผ่าตัดนี้ไม่สามารถรักษาอาการปัสสาวะเล็ดได้ถาวร ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะกลับมามี ภาวะปัสสาวะเล็ด ได้อีก ภายในระยะ 5 ปี หลังการผ่าตัด
- ในช่วงของการปรึกษาผู้ป่วยจะได้พบกับ แพทย์หญิง วิทัศศนา เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการซักประวัติและตรวจภายใน กรณีที่มีการติดเชื้ออยู่ในช่องคลอด เช่น เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย ควรรักษาภาวะติดเชื้อในช่องคลอดให้หายก่อนทำการผ่าตัด
- หลังการตรวจภายใน ผู้ป่วยจะได้รับการอธิบาย เกี่ยวกับพยาธิสภาพความหย่อนยานของช่องคลอดก่อนการผ่าตัด, ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัด, การให้ยาระงับความรู้สึกขณะทำการผ่าตัด, ประโยชน์หรือผลลัพธ์ที่จะได้รับจากการทำผ่าตัด, ทางเลือกในการรักษา และรายละเอียดเกี่ยวกับการพักฟื้นหลังการผ่าตัด รวมทั้งจะมีการแจ้งราคา ค่าผ่าตัดแก้ไขกระบังลมหย่อน ก่อนการตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด
- หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการอธิบายเกี่ยวกับ ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนทั่วไปของการผ่าตัด ได้แก่ ภาวะเลือดออกผิดปกติ, ภาวะแผลติดเชื้อ, ภาวะแผลแยก, ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด, การแพ้ยาหรือสารอื่นๆที่ใช้ในการผ่าตัด, การเกิดตกขาวมากผิดปกติ, การเกิดเชื้อราในช่องคลอด และ ภาวะแทรกซ้อนจำเพาะของการผ่าตัด ได้แก่ ภาวะปัสสาวะลําบาก, ภาวะปัสสาวะไม่ออกหลังการผ่าตัด, การเกิดรูรั่วระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับช่องคลอด, การเกิดรูรั่วระหว่างลําไส้กับช่องคลอดหลังการผ่าตัด เป็นต้น
- การผ่าตัดนี้มีข้อจำกัด ไม่สามารถรับประกันผลลัพธ์และความพึงพอใจ ในผู้ป่วยแต่ละคนได้ทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานเดิมของผู้ป่วย ได้แก่ กรณีมีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนร่วมกับมีมดลูกหย่อนด้วย อาจจำเป็นต้องทำผ่าตัดมดลูกออกทางช่องคลอดร่วมด้วย และนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของผู้ป่วย เพราะโรคประจำตัวบางชนิด ส่งผลต่อกระบวนการหายของแผลผ่าตัด รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับการดูแลแผลผ่าตัดที่ถูกต้องของผู้ป่วย ในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยเกินการควบคุมของแพทย์ ซึ่งแพทย์จะแจ้งให้ผู้ป่วยรับทราบก่อนการผ่าตัด
- ทั้งนี้อาจจะเกิดจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม ที่ทําให้การผ่าตัดมีผลคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น การผ่าตัดแก้ไขก็อาจทำได้ โดยการพิจารณาตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยและแพทย์ควรจะปรึกษาร่วมกัน ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดแก้ไขต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังการผ่าตัด โดยเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ายา, ค่าห้องและค่าใช้จ่ายทางวิสัญญีตามจริง
- บริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากภาวะเลือดออกมากผิดปกติในระหว่างผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัดได้ เพราะเป็นการผ่าตัดในช่องคลอด ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดค่อนข้างมาก ภาวะเลือดออกผิดปกติ อาจพบได้ประมาณน้อยกว่าร้อยละ 1 แต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย ดังนั้นผู้ป่วยควรหยุดรับประทานยาในกลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่มยาลดการแข็งตัวของเลือด 10-15 วัน ก่อนหรือหลังการผ่าตัด
- อีกทั้งบริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากภาวะแผลแยกได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากแผลผ่าตัดอยู่ในบริเวณที่จะได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยควรจะต้องหยุดทำงาน และงดกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำเป็นประจำในช่วง 5-7 วันแรกหลังการผ่าตัด รวมทั้งในส่วนแพทย์ที่ทำผ่าตัดจำเป็นต้องมีความระมัดระวังในการผ่าตัด และมีเทคนิคการเย็บแผลผ่าตัดที่ดี ในการป้องกันการเกิดภาวะแผลแยก
- นอกจากนี้บริเวณที่ทำการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการอักเสบและการติดเชื้อของแผลผ่าตัด ซึ่งทำให้เกิดภาวะแผลแยกได้ เนื่องจากแผลผ่าตัดอยู่บริเวณที่อับชื้น รวมทั้งอยู่ใกล้ทางเดินปัสสาวะและทางเดินอุจจาระ ซึ่งมีแบคทีเรียชนิดต่างๆ ที่อาจให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้ ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อแล้วเกิดแผลแยก โดยการฉีดยาปฏิชีวนะก่อนการผ่าตัด และการรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งสําคัญ
- การผ่าตัดนี้จะทำการผ่าตัดโดยการดมยาสลบ ผู้ป่วยจึงต้องงดน้ำและอาหาร ก่อนทำการผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงในการสำลักเศษอาหาร ในระหว่างหรือหลังจากการทำผ่าตัด
ต้องการอ่านเพิ่มเติม โปรดคลิก
ปัญหาทั่วไปของ อวัยวะเพศ ภายนอกของ ผู้หญิง
คำถามบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัด รีแพร์ ด้านหน้า และ ด้านหลังผนังช่องคลอด
2) อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขั้นตอนก่อนการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด
3) ขั้นตอนการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด
- การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยการดมยาสลบ เมื่อผู้ป่วยหลับแพทย์จึงจะทําการผ่าตัด โดยเริ่มจากการผ่าตัดทางด้านหน้าของผนังช่องคลอด โดยการเลาะเอาผนังช่องคลอดด้านหน้า ส่วนเกินที่ยื่นเข้าไปในช่องคลอดทิ้ง ดังนั้นผนังช่องคลอดทางด้านหน้าจะขาดออกจากกันเป็นรูปลิ่ม หรือตัววีกลับหัว ( V ) –(โดยที่ด้านแหลมของตัว V อยู่ใกล้กับปากช่องคลอด-ด้านกว้างของตัว V อยู่ใกล้กับปากมดลูก)—หลังจากนั้นแพทย์จะนําขอบแผลทั้งสองข้าง (หรือขาของตัว Vทั้งสองข้าง) มาชิดกันใหม่–แล้วจะทําการเย็บขอบแผลให้ติดกันด้วยไหมละลายช้า โดยเริ่มที่ด้านแหลมของตัว V ที่อยู่ใกล้กับปากช่องคลอดก่อน (ดังรูป) โดยจะทําการเย็บซ่อมผนังช่องคลอดตลอดความยาวทั้งหมดของผนังช่องคลอดทางด้านหน้า–โดยทําการเย็บทั้งหมด 2 หรือ 3 ชั้นตามความเหมาะสม และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดแผลแยก ที่จะทําให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ
การผ่าตัดตกแต่งด้านหน้าช่องคลอด
- หลังจากนั้นแพทย์ก็จะทําการผ่าตัดในกระบวนการเช่นเดียวกัน ที่ทางด้านหลังของผนังช่องคลอด โดยแพทย์จะทําการผ่าตัดเลาะเอาผนังช่องคลอดด้านหลังส่วนเกินที่ยื่นเข้าไปในช่องคลอดทิ้ง ดังนั้นผนังช่องคลอดทางด้านหลังจะขาดออกจากกันเป็นรูปลิ่มหรือตัววีกลับหัว ( V ) โดยที่ด้านแหลมของตัว V อยู่ใกล้กับปากมดลูก-ด้านกว้างของตัว V อยู่ใกล้กับปากช่องคลอด
- หลังจากนั้นแพทย์จะนําขอบแผลทั้งสองข้างหรือขาของตัว V ทั้งสองข้างมาชิดกันใหม่–แล้วจะทําการเย็บขอบแผลให้ติดกันด้วยไหมละลายช้า โดยเริ่มที่ด้านแหลมของตัว V ที่อยู่ใกล้กับปากมดลูกก่อน–ทั้งนี้แพทย์จะทําการเย็บซ่อมผนังช่องคลอดตลอดความยาวทั้งหมดของผนังช่องคลอดทางด้านหลัง (ดังรูป) โดยทําการเย็บทั้งหมด 2 หรือ 3 ชั้นตามความเหมาะสม
การผ่าตัดตกแต่งด้านหลังช่องคลอด
- ผลลัพธ์ที่ได้คือจะทำให้ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนดีขึ้น และในขณะเดียวกันก็ทำให้ช่องคลอดกระชับขึ้นด้วย ผู้ป่วยจำเป็นต้องใส่ผ้ากอซ (vagina packing ) ไว้ในช่องคลอด 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด เพื่อช่วยห้ามเลือด และใส่สายสวนปัสสาวะไว้ 3-5 วันหลังการผ่าตัด
การผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด เป็นหนึ่งในกลุ่มในกลุ่มของ ศัลยกรรมนรีเวชทางเดินปัสสาวะ ที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยแพทย์ที่ผ่าตัดต้องมีความรู้, ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างทางกายวิภาคของหัวหน่าว และมีทักษะการผ่าตัดที่ความแม่นยำเป็นอย่างมาก เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์ หรือมีประสบการณ์ทางด้านศัลยกรรมเพื่อความงามประเภทนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นผู้เข้ารับบริการจำเป็นต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของแพทย์ที่จะทำการผ่าตัด