คำแนะนําหลังผ่าตัดนรีเวชทางเดินปัสสาวะ มีข้อควรปฏิบัติที่จะช่วยให้ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด เข้าใจเกี่ยวกับข้อห้ามหลังผ่าตัด,การปฏิบัติตัว, การดูแลสายสวนปัสสาวะและแผลผ่าตัด, การพักฟื้น, การตัดไหม และการนัดหมายหลังการผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีของการผ่าตัด

1)  คำแนะนําหลังผ่าตัดนรีเวชทางเดินปัสสาวะ เกี่ยวกับข้อห้ามในกิจกรรมต่าง ๆ

  • คำแนะนําหลังผ่าตัดนรีเวชทางเดินปัสสาวะห้ามขับรถเป็นเวลา 2 สัปดาห์
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ หลังการผ่าตัดประมาณ 6-8 สัปดาห์
  • ไม่ควรยกของหนัก (มากกว่า 15 ปอนด์) เป็นเวลา 4 สัปดาห์
  • ห้ามตัดหญ้า, ตักหิมะและกวาดใบไม้ เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์
  • ไม่ควรใช้บันไดบ่อยนัก ให้ก้าวทีละขั้น และหาคนคอยช่วยพยุงตอนขึ้นบันได
  • สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ต้องเป็นกิจกรรมแบบเบา ๆ และสนับสนุนให้เดินแบบช้า
  • ถ้ารู้สึกไม่สบาย ให้ลดกิจกรรมต่าง ๆ ลง เคลื่อนไหวแบบช้าๆ และค่อยๆ เพิ่มกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอย่างช้าๆ

2) การรับประทานอาหาร หลังการผ่าตัดทางนรีเวชทางเดินปัสสาวะ

  • คำแนะนําหลังผ่าตัดนรีเวชทางเดินปัสสาวะ ควรรับประทานอาหารที่บ้าน ถ้าไม่รู้สึกหิวควรรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง
  • แนะนำให้ ดื่มน้ำสะอาดตามปกติ จำกัดเครื่องดื่มหลังจาก 6 โมงเย็น หลีกเลี่ยงชา, กาแฟ (รวมทั้งที่ไม่มีคาเฟอีน)
  • ถ้าผู้เข้ารับการผ่าตัด มีอาหารที่แตกต่างเพื่อรักษาโรค เช่น โรคเบาหวาน, โรคไต, โรคตับ ฯลฯ ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจจะกลับมารับประทานอาหารดังกล่าว เมื่อมีความรู้สึกอยากอาหารเป็นปกติ
  • หลังการผ่าตัดทางนรีเวชทางเดินปัสสาวะ ควรเพิ่มเส้นใยอาหาร ในอาหารของคุณ  อาจจะต้องใช้ยาระบาย เช่น ส้มแขก ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
  • โปรดอย่ากังวล เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของลำไส้ อาจจะมีลำไส้เคลื่อนไหวผิดปกติหลังจากผ่าตัด ต้องรอจนกระทั่งร่างกายพักฟื้นเต็มที่แล้ว การเคลื่อนไหวของลำไส้ จึงจะกลับสู่ภาวะปกติ

3) คำแนะนําหลังผ่าตัดทางนรีเวชทางเดินปัสสาวะ เกี่ยวกับการสัมผัสน้ำและการปฏิบัติตัว 

  • ในระยะ 1-2 วันแรก หลังการผ่าตัด ไม่ควรอาบน้ำ เพราะแผลผ่าตัด ไม่ควรโดนน้ำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัด (อาจใช้การเช็ดตัวไปก่อน) สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ หลังจากถอดสายสวนปัสสาวะแล้ว
  • ห้ามถูที่บาดแผลผ่าตัด–ปล่อยให้แห้งเอง การทำความสะอาด บริเวณปากช่องคลอด หลังการถ่ายอุจจาระ โดยการล้างผ่านน้ำเปล่าแล้วซับเบาๆ ให้แห้ง ควรพยายามหลีกเลี่ยง ความอับชื้นบริเวณแผลผ่าตัด
  • ในระยะ 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด มีความจำเป็นที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ เพื่อป้องกันอาการปัสสาวะลำบาก ซึ่งเกิดจากการผ่าตัดในระยะแรก ที่ทําให้เกิดภาวะตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบปากช่องคลอด หลังจากนั้นเมื่อภาวะดังกล่าวลดลง ผู้เข้ารับการผ่าตัด ก็จะสามารถปัสสาวะได้เองตามปกติ
  • วิธีการพักฟื้น อาจจะแตกต่างออกไปในแต่ละคน แต่ภายในวันที่ 2-3 หลังการผ่าตัด คุณจะสามารถลุก และเดินไปรอบๆ ได้เล็กน้อย คุณจะต้องไม่ไปทำงาน รวมทั้งงดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยทำเป็นประจำ อย่างน้อย 2-3 วัน หรือ 3-5 วัน หรือ 5-7 วัน หลังการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของการผ่าตัด
  • ในช่วงระหว่างวันที่ 2  ถึงวันที่ 5 หลังการผ่าตัด แพทย์จะทําการถอดสายสวนปัสสาวะ (ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของการผ่าตัด) หลังจากนั้นถ้าผู้เข้ารับการผ่าตัด สามารถปัสสาวะได้เอง หลังการถอดสายสวนปัสสาวะ และเมื่อแพทย์ตรวจแผลผ่าตัดแล้ว ไม่พบว่ามีเลือดออกจากแผลผ่าตัดมากผิดปกติ รวมทั้งเมื่อมีการสอบถาม เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด-แล้วสามารถตอบคําถามได้ถูกต้อง–แพทย์จึงจะอนุญาตให้กลับบ้านได้

 

หัวข้อน่าสนใจ

คำแนะนำหลังการผ่าตัด แก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด โดย TVT-O

คำแนะนำหลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด

รูปภาพ ก่อน-หลัง การผ่าตัด

 

4) คำแนะนําหลังผ่าตัดนรีเวชทางเดินปัสสาวะ ในการดูแลสายสวนและบาดแผลผ่าตัด 

  • หลังการผ่าตัด ถ้าผู้เข้ารับการผ่าตัด สังเกตเห็นหนองออกมาจากบาดแผล, มีเลือดออกจากแผลผ่าตัดปริมาณมากผิดปกติ, บริเวณแผลผ่าตัดกลายเป็นรอยแดง, แผลผ่าตัดมีรอยไหม้ หรือ มีน้ำไหลออกจากแผลผ่าตัดมากผิดปกติ กรุณาโทรติดต่อโรงพยาบาล เพื่อขอรับคำแนะนำ หรือกลับมาพบแพทย์ เพื่อขอรับการรักษาโดยทันที
  • ไหมเย็บแผลของผู้เข้ารับการผ่าตัด จะละลายไปเมื่อถึงเวลา ไม่ควรดึงไหมออกเองและควรปล่อยให้ไหมหลุดออกไปเอง ห้ามนำผ้าปิดแผลออกจากแผลผ่าตัด เว้นแต่ได้รับการแนะนำจากแพทย์ ซึ่งปกติแล้วแพทย์จะทําการตรวจแผลผ่าตัดหลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์
  • ถ้าผู้เข้ารับการผ่าตัด มีสายสวนปัสสาวะอยู่ ควรล้างบริเวณรอบๆ สายสวนปัสสาวะ อย่างเบามือ ด้วยสบู่และน้ำ ติดเทปสายสวนปัสสาวะไว้ที่หน้าต้นขา เพื่อหลีกเลี่ยงการกระชากสายสวนปัสสาวะ โดยความไม่รู้ตัว ห้ามถอดสายสวนปัสสาวะ ออกจากถุงใส่ปัสสาวะโดยเด็ดขาด

 เมื่อไหร่ที่ต้องติดต่อแพทย์หลังการผ่าตัด

  1. คลื่นไส้, อาเจียน หรือไม่สามารถทานอาหารได้
  2. มีอาการกดเจ็บ, ขาบวม, เจ็บหน้าอก หรือหายใจเร็ว
  3. มีไข้สูงมากกว่า 101º F หรือ / และหนาวสั่นผิดปกติ
  4. รู้สึกปวดท้องน้อย เนื่องจากไม่สามารถปัสสาวะได้เอง
  5. เลือดออกมากผิดปกติ หรือ มีเลือดออกจากบริเวณที่ผ่าตัดมาเป็นก้อน
  6. ถ้ามีเหตุฉุกเฉินร้ายแรง คุณจำเป็นต้องไปที่ห้องฉุกเฉินของ โรงพยาบาลใกล้บ้าน

สรุป

พญ.วิทัศศนา จะนัดตรวจ หลังการผ่าตัด ในราว 1-2 สัปดาห์หลังการผ่าตัด หรือเมื่อเห็นว่าเหมาะสม คำแนะนำหลังการผ่าตัดทางนรีเวชทางเดินปัสสาวะ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การผ่าตัดมีผลลัพธ์ที่ดี โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ขึ้นอยู่กับ แพทย์ และ ตัวผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งมีความสำคัญเท่าๆ กัน ดังนั้นปรดทราบว่า ต่อให้แพทย์ทําการผ่าตัด–เย็บแผลผ่าตัดอย่างระมัดระวังเท่าใดก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าแผลผ่าตัดเกิดการอักเสบและติดเชื้อ ผู้เข้ารับการผ่าตัดต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคําแนะนําหลังการผ่าตัดโดยเคร่งครัด อย่าลังเลที่จะ ติดต่อสอบถาม เราหากมีข้อสงสัย

ข้ามไปยังทูลบาร์