Home ความเสี่ยง หรือ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี

ความเสี่ยง หรือ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี

ความเสี่ยง หรือ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี

ความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัดตกแต่งเยื่อพรหมจารี

 

1) ความเสี่ยง หรือ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งหนังเยื่อพรหมจารี เนื่องจากอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัด 

bullet_tickในระยะ 2-3 วันแรก อาจมีอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัด, อาการบวม, อาการคัน,  อาการระคายเคือง และรู้สึกตึงบริเวณแผลผ่าตัดได้ ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรจะต้องหยุดทำงาน  และงดกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำเป็นประจำหลังการผ่าตัด ซึ่งได้แก่ การเดินหรือการขึ้นลงบันได รวมทั้งควรนอนพักสังเกตอาการ เพื่อลด ความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อน หลัง การผ่าตัดตกแต่งเยื่อพรหมจารี อันเนื่องมาจากภาวะอักเสบของแผลผ่าตัด

bullet_tickในกรณีที่ผู้เข้ารับการผ่าตัด มีอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัดมากขึ้น ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรกลับมาพบแพทย์ โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด

2) ความเสี่ยง หรือ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี เนื่องจากภาวะเลือดคั่ง หรือเลือดออกมากผิดปกติ  

bullet_tickอาจพบได้ประมาณน้อยกว่าร้อยละ 1 ของการผ่าตัด  ดังนั้นผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ไม่ควรรับประทานยาในกลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่มยาลดการแข็งตัวของเลือด 10-15 วัน ก่อนหรือหลังการผ่าตัด

bullet_tickบริเวณที่ทำการผ่าตัดมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการเกิดแผลแยก ซึ่งทำให้เกิดเลือดออกมากผิดปกติได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากเยื่อพรหมจารีเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดค่อนข้างมาก รวมทั้งในการผ่าตัดจะมีการใช้ไหมเส้นเล็กเย็บแผลผ่าตัด ดังนั้นแพทย์ผู้ผ่าตัดต้องให้ความระมัดระวังในการผ่าตัด โดยทําการเย็บแผลผ่าตัดทั้งหมด 2-3 ชั้น รวมทั้งมีเทคนิคการเย็บแผลผ่าตัดที่ดี ในการป้องกันการเกิดภาวะแผลแยก ในส่วนของผู้เข้ารับการผ่าตัด ควรจะต้องหยุดทำงาน และงดกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำเป็นประจำ ในระยะ 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด รวมทั้งต้องงดการออกกำลังกายและงดการมีเพศสัมพันธ์ หลังการผ่าตัดอย่างน้อย 8-12 สัปดาห์

bullet_tickกรณีผู้เข้ารับการผ่าตัด มีเลือดออกมากชุ่มผ้าอนามัย หรือมีเลือดออกเป็นก้อนสีแดงสด กรุณาโทรติดต่อโรงพยาบาลทันที เพื่อขอรับคำแนะนำ หรือกลับมาพบแพทย์ เพื่อตรวจแผลผ่าตัด

3) ความเสี่ยง หรือ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี เนื่องจากเกิดแผลแยก, แผลอักเสบ หรือแผลติดเชื้อ  

bullet_tickเนื่องจากแผลผ่าตัดอยู่บริเวณที่ใกล้ทางเดินปัสสาวะและอุจจาระ ซึ่งมีแบคทีเรียชนิดต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดได้ ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อแล้วเกิดแผลแยก โดยการฉีดยาปฏิชีวนะก่อนการผ่าตัด และการรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งสําคัญ 

bullet_tickแผลติดเชื้อหลังการผ่าตัดเป็นภาวะที่อาจพบได้ ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ซึ่งมักเกิดในกรณีที่ผู้เข้ารับการผ่าตัดที่ไม่ปฏิบัติตามคําแนะนํา หรือปฏิบัติตามคําแนะนําไม่ถูกต้อง และในผู้เข้ารับการผ่าตัดมีโรคประจําตัว เช่น โรคเบาหวาน รวมทั้งในผู้เข้ารับการผ่าตัดที่มีภาวะติดเชื้ออยู่ในช่องคลอดก่อนการผ่าตัดอยู่แล้ว กรณีผู้เข้ารับการผ่าตัดมีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุและมีอาการปวดที่แผลผ่าตัด ร่วมกับมีอาการบวมแดงที่แผลผ่าตัด กรุณาโทรติดต่อโรงพยาบาลทันที เพื่อขอรับคำแนะนำหรือกลับมาพบแพทย์ เพื่อตรวจแผลผ่าตัด ซึ่งในกรณีมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ผู้เข้ารับการผ่าตัดต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพิ่มเติม และต้องเสียค่าใช้จ่ายตามจริง

 

ต้องการดู รูป ก่อน และ หลัง การผ่าตัด

ตกแต่งเยื่อพรหมจารี – คืนความอ่อนเยาว์ให้ น้องสาว

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ การผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี

 

4) ความเสี่ยง หรือ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี เนื่องจากมีอาการตกขาว และเกิดการติดเชื้อราภายในช่องคลอด 

bullet_tickอาจมีตกขาวสีเหลืองและตกขาวสีเข้มขึ้น, ตกขาวมีสีคล้ายหนองหลังการผ่าตัด เนื่องจากภายในช่องคลอดจะเต็มไปด้วยสารคัดหลั่งในช่องคลอด รวมทั้งแบคทีเรียชนิดต่างๆ ทําให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อที่ผ่าตัดและไหมที่เย็บแผลผ่าตัด ทั้งนี้ต้องใช้เวลานาน 8-12 สัปดาห์ แผลที่ผ่าตัดจึงจะติดดี–และไหมจะละลายได้หมด  ซึ่งจากนั้นอาการดังกล่าวก็จะหายเป็นปกติ ยกเว้นในกรณีตกขาวมีกลิ่นเหม็น ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจจำเป็นต้องได้รับยารับประทานเพิ่มเติม

bullet_tickอาจมีตกขาวสีขาวปนเขียว หรือมีตกขาวคันในช่องคลอดมากกว่าปกติ เนื่องจากเชื้อราในช่องคลอด ซึ่งเกิดตามหลังการรับประทานยาปฏิชีวน ทั้งนี้โดยทั่วไปแพทย์จะจัดยาฆ่าเชื้อราให้รับประทาน หลังหยุดยาปฏิชีวนะ 1 สัปดาห์ หรือเมื่อแผลผ่าตัดหายดีแล้ว หรือหลังการผ่าตัด 6-8 สัปดาห์

5) ความเสี่ยง หรือ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี เนื่องจากการผ่าตัดมีผลคลาดเคลื่อน 

bullet_tickเนื่องจากผลการผ่าตัดส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับ โครงสร้างพื้นฐานเดิมของผู้เข้ารับการผ่าตัด ได้แก่ กรณีเยื่อพรหมจารีบางมาก หรือมีรอยฉีกขาดเล็กๆมากกว่า 3-4 จุดขึ้นไป โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการเย็บซ่อมวงรอบของเยื่อพรหมจารีก็จะมีน้อย คืออาจจะเย็บไม่ติดหรือเย็บติดเพียงบางส่วน (ไม่ครบวงทั้งหมด) และนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของผู้เข้ารับการผ่าตัด เพราะโรคประจำตัวบางชนิด ส่งผลต่อกระบวนการหายของแผลผ่าตัด รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับการดูแลแผลผ่าตัดที่ถูกต้องของผู้เข้ารับการผ่าตัด ในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด 

bullet_tickกรณีการผ่าตัดมีผลคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเป็นความต้องการของผู้เข้ารับการผ่าตัด ที่ต้องการผ่าตัดแก้ไขก็อาจทำได้ โดยการพิจารณาตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ทั้งนี้ผู้เข้ารับการผ่าตัดและแพทย์ควรจะปรึกษาร่วมกัน ซึ่งผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการผ่าตัดแก้ไขต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังการผ่าตัด โดยเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ายาและค่าใช้จ่ายทางวิสัญญีตามจริง

ความเสี่ยง หรือ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งเยื่อพรหมจารี เป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ดังนั้นโปรดทราบว่า ต่อให้แพทย์ทําการผ่าตัด–เย็บแผลผ่าตัดอย่างระมัดระวังเท่าใดก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าแผลผ่าตัดเกิดเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้เข้ารับการผ่าตัดต้องให้ความร่วมมือ และปฏิบัติตามคําแนะนําหลังการผ่าตัดโดยเคร่งครัด ในกรณีที่ผู้เข้ารับการผ่าตัด เกิดภาวะแทรกซ้อน กรุณาโทรติดต่อโรงพยาบาลทันที เพื่อขอรับคำแนะนำ หรือกลับมาพบแพทย์ เพื่อตรวจแผลผ่าตัด

ข้ามไปยังทูลบาร์