ข้อความเรื่อง เกี่ยวกับการผ่าตัด ตกแต่ง หนังคลุมคลิตอริส นี้คัดลอกจากการประชุมด้าน ศัลยกรรมตกแต่งทางนรีเวชวิทยาขั้นสูง โดย ดร. ออสเตร็ซ์นสกี้ ในวันที่ 26-29 มกราคม 2555 ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์ ออสเตร็ซ์นสกี้ (Professor Ostrzenski) กล่าวว่า การผ่าตัด ตกแต่งหนังคลุมคลิตอริส (Clitoral Hoodoplasty) หรือ เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็น การผ่าตัดตกแต่งลดขนาดหนังคลุมคลิตอริส (Clitoral Hood Reduction) เป็นขั้นตอนการผ่าตัด ที่จะช่วยเปลี่ยนแปลง หนังคลุมคลิตอริส ซึ่งเป็นบริเวณผิวหนังที่สามารถมองเห็นได้เหนือคลิตอริส ให้มีรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงามมากขึ้น โดยคงหน้าที่การทำงานเดิมไว้
ศาสตราจารย์ ออสเตร็ซ์นสกี้ ได้แบ่งลักษณะของ หนังคลุมคลิตอริส ออกเป็น 3 ลักษณะดังต่อไปนี้
1) หนังคลุมคลิตอริสแบบปิด (Occluded Clitoral Hood) หนังคลุมคลิตอริส ปิดเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด โดยตำแหน่งของ คลิตอริส อยู่ภายใต้ หนังคลุมคลิตอริสนั้น
2) หนังคลุมคลิตอริสเปิดนูน ( Hypertrophic-Gaping Clitoral Hood) หนังคลุมคลิตอริส มีส่วนเกินยื่นออกมา หรือ หนังคลุมคลิตอริส หนาเกินไป หรือทั้งสองลักษณะ
3) หนังคลุมคลิตอริสผิดรูปนูนใต้ชั้นผิวหนัง (Asymmetrical Subdermal Hypertrophy) เนื้อเยื่อใต้หนัง คลุมคลิตอริส หนาไม่สม่ำเสมอ หรือไม่เท่ากันทั้งสองข้าง
ศาสตราจารย์ ออสเตร็ซ์นสกี้ ดำเนินการศึกษาทางคลินิก (ระหว่างปี 2549 และ 2553) ซึ่งช่วยให้เขาได้พัฒนาวิธีการผ่าตัดตกแต่ง หนังคลุมคลิตอริส ขึ้นมาใหม่ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวนี้เป็นประโยชน์มาก เพื่อให้แพทย์และผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้
การผ่าตัด ตกแต่ง หนังคลุมคลิตอริส แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ดังต่อไปนี้
1) การผ่าตัด ตกแต่งลดขนาดหนังคลุมคลิตอริส (Reductive Clitoral Hoodoplasty)
เป็นขั้นตอนการรักษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตัด หนังคลุมคลิตอริส ส่วนเกินออกไป หรือเพื่อ ตกแต่งหนังคลุมคลิตอริสให้มีความหนาลดลง
การใช้วิธีผ่าตัดด้วยน้ำ (hydrodissection) เป็นการแยกแรงยึดติดระหว่างพื้นผิวด้านในของ หนังคลุมคลิตอริส กับ คลิตอริส โดยการใช้นํ้าเป็นตัวแยก เหมาะสำหรับการผ่าตัด ในกรณีหนังคลุมคลิตอริสแบบปิด (Occluded Clitoral Hood)
การผ่าตัดด้วยน้ำตาม–ด้วยการผ่าตัดด้วยวิธีตัววีกลับหัว (Hydrodissection with Reverse V-Plasty or Modified Hydrodissection) เป็นการแยกแรงยึดติดระหว่างพื้นผิวด้านในของ หนังคลุมคลิตอริส กับ คลิตอริส โดยการใช้นํ้า หลังจากนั้นเนื้อเยื่อ หนังคลุมคลิตอริส ส่วนเกิน จะถูกตัดออกเป็นรูปตัววีกลับหัว (reverse V-plasty) มีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัด หนังคลุมคลิตอริส ที่เป็นส่วนเกินและซ้อนทับกันอยู่ การผ่าตัดจะช่วยฟื้นฟูรูปลักษณ์ของ หนังคลุมคลิตอริส เหมะสำหรับรักษา หนังคลุมคลิตอริสเปิดนูน ( Hypertrophic-Gaping Clitoral Hood)
การผ่าตัดเนื้อใต้เยื่อบุคลิตอริส (Clitoral Subepithelial Hoodoplasty) เป็นการผ่าตัดสำหรับกรณีเนื้อใต้เยื่อบุ คลิตอริสนูนผิดรูปใต้ผิวหนัง (Asymmetrical Subdermal Hypertrophy) ทำให้ความหนาของหนังคลุมคลิตอริสไม่สม่ำเสมอ
2) การผ่าตัดฟื้นฟู หนังคลุมคลิตอริส (Restorative Clitoral Hoodoplasty)
มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟู หนังคลุมคลิตอริส ที่เสียหาย อันเป็นผลมาจากสภาพผิว เกิดจากโรคประจำตัวหรือเกิดตามหลังการบาดเจ็บ เป็นต้น รวมทั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อซ่อมแซม หนังคลุมคลิตอริส ส่วนที่หายไป โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทของคลิตอริสอย่างถาวร
การใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อ จะช่วยแยกแรงยึดติดระหว่าง หนังคลุมคลิตอริส กับ คลิตอริส ทำให้มีการเปิดของหนังคลุมคลิตอริสบางส่วน โดยเฉพาะส่วนปลายหรือทั้งหมด ทำให้ช่วยเปิดให้เห็นถึงคลิตอริสได้
เทคนิคการรักษาแบบนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เกี่ยวกับอาการขาดความรู้สึกของ คลิตอริส อันเนื่องมาจากการใช้เครื่องมือที่ทำจากโลหะกับคลิตอริสโดยตรง
ดร. ออสเตร็ซ์นสกี้ เน้นย้ำว่า ไม่มีวิธีการผ่าตัดที่ “สมบูรณ์แบบในหนึ่งเดียว เกี่ยวกับการผ่าตัด ตกแต่งหนังคลุมคลิตอริส ลักษณะผิดปกติของ หนังคลุมคลิตอริส ที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดรักษาที่ต่างกัน
พญ. วิทัศศนา และ นพ. สุชาย ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้าน ศัลยกรรมตกแต่งทางนรีเวชขั้นสูง
ณ ศูนย์การแพทย์เบย์ เมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก มลรัฐฟลอริดา ประเทศอเมริกา
:: หัวข้อที่น่าสนใจ ::
คำถามที่ควรพิจารณาก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ต้องการดูรูปก่อนการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด