ข้อ ๒๗. ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือการประชุมใหญ่วิสามัญ
จะต้องมีสมาชิกวิสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน ๑๔ วันนับตั้งแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก สำหรับการประชุมในครั้งหลังนี้ ถ้ามีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่าใดก็ให้ถือว่าครบองค์ประชุม ยกเว้นถ้าเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญ ที่เกิดขึ้นจากการร้องขอของสมาชิกก็ไม่ต้องจัดประชุมใหญ่ ให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก
ข้อ ๒๘. การลงมติต่างๆในที่ประชุมใหญ่
ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๒๙. ในการประชุมใหญ่ของสมาคม
ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่ง ให้ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
หมวดที่ ๕ การเงินและทรัพย์สิน
๓๐. การเงินและทรัพย์สินทั้งหมด
ให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการเงินสดของสมาคม ถ้ามีให้นำฝากไว้ในธนาคาร
๓๑. การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม
จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคม หรือผู้ทำการแทนลงนามร่วมกับเหรัญญิก และเลขานุการพร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงจะถือว่าใช้ได้
๓๒. ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคม
ได้ครั้งละไม่เกิน 100,000 บาท ( หนึ่งแสนบาทถ้วน ) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและคณะกรรมการจะอนุมัติให้จ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน 50,000,000 บาท ( ห้าสิบล้านบาทถ้วน ) ถ้าจำเป็นจะต้องจ่ายเกินกว่านี้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
๓๓. ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสด
ของสมาคมได้ไม่เกิน 50,000 บาท ( ห้าหมื่นบ้านถ้วน ) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาสอำนวยให้
๓๔. เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายและบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
การรับหรือจ่ายเงินทุกครั้งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของนายกสมาคม หรือผู้ทำการแทนร่วมกับเหรัญญิก หรือผู้ทำการแทนพร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
๓๕. ผู้สอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม
และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
๓๖. ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการ
และสามารถจะเชิญกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม เพื่อสอบถามเกี่ยวกับเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้
๓๗. คณะกรรมการการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชีเมื่อได้รับการร้องขอ
หมวดที่ ๖ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม
๓๘. ข้อบังคับสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติใหญ่ของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น
และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
๓๙. การเลิกสมาคมจะเลิกได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมาย มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกสมาคมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด
๔๐. เมื่อสมาคมต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม
ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ตกเป็นของสำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
( ผู้รับต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์ )
หมวดที่ ๗ บทเฉพาะกาล
๔๑. ข้อบังคับฉบับนี้นั้นให้เริ่มใช้บังคับได้
นับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป
๔๒. เมื่อสมาคมได้รับอนุญาต
ให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจากทางราชการ ก็ให้ถือว่าผู้เริ่มการทั้งหมดเป็นสมาชิกสามัญและสมาชิกภาพของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้น เริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเป็นต้นไป