ข้อ ๑๖. กรรมการอาจจะพ้นจากตำแหน่งซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้คือ
๑๖.๑ ตาย
๑๖.๒ ลาออก
๑๖.๓ ขาดจากสมาชิกภาพ
๑๖.๔ ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่ง
ข้อ ๑๗. กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการ
ให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการมีมติให้ออก
ข้อ ๑๘. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
๑๘.๑ มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติโดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้
๑๘.๒ มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
๑๘.๓ มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
๑๘.๔ มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีและประชุมใหญ่วิสามัญ
๑๘.๕ มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
๑๘.๖ มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
๑๘.๗ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมดรวมทั้งการเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
๑๘.๘ มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกสามัญจำนวน ๑ ใน ๕ ของสมาชิกทั้งหมด ได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน ๓๐ วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
๑๘.๙ มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่างๆทั้งที่เกี่ยวกับการเงินทรัพย์สิน และการดำเนินกิจกรรมต่างๆของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
๑๘.๑๐ จัดทำบันทึกการประชุมต่างๆ ของสมาคมเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ
๑๘.๑๑ มีหน้าที่อื่นๆตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
ข้อ ๑๙. คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
โดยให้จัดขึ้นภายในวันที่ ๓๐ ของทุกๆเดือน ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม
ข้อ ๒๐. การประชุมคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมการประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด
จึงจะถือว่าครบองค์ประชุมมติของที่ประชุมคณะกรรมการถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๒๑. ในการประชุมคณะกรรมการ
ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
หมวดที่ ๔ การประชุมใหญ่
ข้อ ๒๒. การประชุมใหญ่ของสมาคมมี ๒ ชนิดคือ
๒๒.๑ ประชุมใหญ่สามัญ
๒๒.๒ ประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ ๒๓. คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีๆละ ๑ ครั้ง
คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีๆละ ๑ ครั้งภายในเดือน มีนาคม ของทุกปี
ข้อ ๒๔. การประชุมใหญ่วิสามัญอาจมีขึ้นได้
โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ ของสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ คนทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดให้มีขึ้น
ข้อ ๒๕. การแจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่
ให้เลขาธิการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบ และการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวันเวลาและสถานที่ให้ชัดเจนโดยจะต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วันและประกาศแจ้งกำหนดนัดประชุมไว้ ณ สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๗ วันก่อนถึงกำหนดการประชุมใหญ่
ข้อ ๒๖. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
๒๖.๑ แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
๒๖.๒ แถลงบัญชีรายรับรายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
๒๖.๓ เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อครบกำหนดวาระ
๒๖.๔ เลือกตั้งผู้สอบบัญชี
๒๖.๕ เรื่องอื่นๆถ้ามี