1) ความเสี่ยง หรีอ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง เนื่องจากอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัด
ในระยะ 2-3 วันแรก อาจมี ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง เนื่องจากอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัด และอาจมีความรู้สึกปวดเบ่งอยากถ่ายอุจจาระตลอดเวลา เนื่องจากมีการเย็บบริเวณส่วนที่มีหูรูดทวารหนักอยู่ ผู้ป่วยควรนอนพัก เพื่อลดอาการปวดเบ่ง และลดภาวะอักเสบบริเวณแผลผ่าตัด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระจากภาวะท้องผูก โดยการรับประทานยาระบาย
2) ความเสี่ยง หรีอ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง เนี่องจากภาวะปัสสาวะลําบาก หรือปัสสาวะไม่ออก
- อาจพบได้ประมาณน้อยกว่าร้อยละ 1 ของการผ่าตัด โดยทั่วไปหลังการผ่าตัดนี้ผู้ป่วยจําเป็นต้องใส่สายสวนปัสสาวะไว้ 3-5 วันหลังการผ่าตัด ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อครบกําหนดแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถปัสสาวะได้เองหลังการถอดสายสวนปัสสาวะ
- อย่างไรก็ตามพบว่ามีผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการปัสสาวะไม่ออกหรือมีอาการปัสสาวะลำบาก หลังการถอดสายสวนปัสสาวะ ทั้งนี้มักจะพบในผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนชนิดรุนแรง ที่เกิดภาวะแผลอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดแผลผ่าตัด ซึ่งทำให้มีการเกร็งของกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน และส่งผลต่อการคลายตัวของหูรูดของท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะลำบาก ในผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น โดยทั่วไปจําเป็นต้องใส่สายสวนปัสสาวะกลับบ้าน ทั้งนี้โดยทั่วไปแพทย์จะนัดถอดสายสวนปัสสาวะ หลังจากนั้นอีกประมาณ 3-5 วัน ในกรณีนี้ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง จนกว่าภาวะดังกล่าวจะดีขึ้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
3) ความเสี่ยง หรีอ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง เนื่องจากภาวะเลือดคั่ง หรือภาวะเลือดออกมากผิดปกติ
- อาจพบได้ประมาณน้อยกว่าร้อยละ 1 ดังนั้นผู้ป่วยไม่ควรรับประทานยาในกลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่มยาลดการแข็งตัวของเลือด 10-15 วัน ก่อนหรือหลังการผ่าตัด
- บริเวณที่ทำการผ่าตัดมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกมากผิดปกติได้ เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดค่อนข้างมาก ดังนั้นแพทย์ผู้ผ่าตัดต้องให้ความระมัดระวังในการผ่าตัด รวมทั้งมีเทคนิคการเย็บแผลผ่าตัดที่ดี ในการป้องกันการเกิดภาวะแผลแยกแล้วทำให้มีเลือดออกมากผิดปกติ ในส่วนของผู้เข้ารับการผ่าตัดค วรจะต้องหยุดทำงาน และงดกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำเป็นประจำ ในระยะ 5-7 วันแรกหลังการผ่าตัด
4) ความเสี่ยง หรีอ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง เนื่องจากการเกิดแผลแยก, แผลอักเสบ หรือแผลติดเชื้อ
- เนื่องจากแผลผ่าตัดอยู่บริเวณที่ใกล้ทางเดินปัสสาวะและอุจจาระ ซึ่งมีแบคทีเรียต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดการติดเชื้อของแผลผ่าตัดได้
- การอักเสบและติดเชื้อหลังการผ่าตัดเป็นเหตุสุดวิสัยที่พบได้ มักเกิดในกรณีที่ผู้ป่วยที่ไม่ปฏิบัติตามคําแนะนํา หรือในผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัว เช่น โรคเบาหวาน กรณีผู้ป่วยมีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ และมีอาการปวดที่แผลผ่าตัด ร่วมกับมีอาการบวมแดงที่แผลผ่าตัด กรุณาโทรติดต่อโรงพยาบาลทันที หรือกลับมาพบแพทย์ เพื่อตรวจแผลผ่าตัด
ต้องการอ่านเพิ่ม
คำถามบ่อย เกี่ยวกับการผ่าตัด ตกแต่งช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง
ต้องการดู รูป การผ่าตัด (โปรดคลิ๊ก)
5) ความเสี่ยง หรีอ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง เนื่องจากมีตกขาวผิดปกติ
- อาจจะมีตกขาวสีเหลืองเข้ม ตกขาวมีสีคล้ายหนองหลังการผ่าตัด เนื่องจากสารคัดหลั่งในช่องคลอดและแบคทีเรียต่างๆ เกิดปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อที่ผ่าตัดและไหมที่เย็บที่เย็บแผล ทั้งนี้ต้องใช้เวลานาน 6-8 สัปดาห์ แผลที่ผ่าตัดจึงจะติดดีและไหมจะละลายหมด ซึ่งอาการดังกล่าวก็จะหายเป็นปกติ
- ผู้ป่วยอาจมีตกขาวสีขาวปนเขียว หรือมีอาการตกขาวคันในช่องคลอดมากกว่าปกติหลังการผ่าตัด เนื่องจากเชื้อราภายในช่องคลอด ซึ่งเกิดขึ้นได้ตามหลังการรับประทานยาปฏิชีวนะ
6) ความเสี่ยง หรีอ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง เนื่องจากการเกิดรูรั่วที่แผลผ่าตัด
- การเกิดรูรั่วที่แผลผ่าตัดระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับช่องคลอด หรือเกิดรูรั่วระหว่างลําไส้กับช่องคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีโอกาสพบได้น้อยมาก อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ มีไข้สูง, เกิดติดเชื้อในกระแสโลหิต, มีหนองในช่องคลอด หรือมีอุจจาระ/ปัสสาวะไหลออกทางช่องคลอด ทางทฤษฎีถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ซึ่งจําเป็นต้องทําการผ่าตัดนำแผ่นพยุงออก ดังนั้นหากผู้ป่วยมีสารคัดหลั่ง ที่มีกลิ่นคล้ายปัสสาวะหรืออุจจาระจากช่องคลอด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
7) ความเสี่ยง หรีอ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง เนื่องจากมีอาการปวดเรื้อรัง
- อาการปวดช่องคลอดและปวดขาหรือสะโพก, อาการปวดในระหว่างการมีกิจกรรมทางกายภาพ สามารถเกิดขึ้นหากวางแผ่นพยุงตึงเกินไป หรือมีแรงดึงจากแผ่นพยุงไปยังกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทภายในอุ้งเชิงกราน ซึ่งหากมีอาการแทรกซ้อนดังกล่าวนี้เกิดขึ้น การรักษาภาวะแทรกซ้อนสามารถทำได้ โดยอาจใช้การรักษาแบบประคับประคอง เช่น ในกรณีหากผู้ป่วยมีอาการปวดเพียงเล็กน้อย อาจจะทําการรักษาโดยการฉีดยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบ แต่หากมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจจะจําเป็นต้องมีการผ่าตัด เพื่อนำแผ่นพยุงที่เป็นสาเหตุของอาการปวดออก
8) ความเสี่ยง หรีอ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง เนื่องจากการเกิดแผ่นพยุงโผล่
- อาจทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออก หรือมีอาการปวดในช่องคลอด ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุด และมักจัดว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง สามารถรักษาได้ง่ายๆ ด้วยการรักษาแบบประคับประคอง เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ, การรับประทานยาแก้อักเสบ และ/หรือการทาครีมเอสโตรเจน ทั้งนี้อาจให้การรักษาร่วมกับการผ่าตัดเล็ก เพื่อตัดหรือเล็มแผ่นพยุงที่โผล่ยื่นออกมาในช่องคลอด อย่างไรก็ตามในกรณีที่แผ่นพยุงโผล่ออกมามาก หรืออาการปวดไม่ทุเลาลง หลังการรักษาแบบประคับประคองร่วมกับการผ่าตัดเล็ก ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องมีการทำผ่าตัดใหญ่ เพื่อเอาแผ่นพยุงออกจากช่องคลอด
9) ความเสี่ยง หรีอ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง เนื่องจากการผ่าตัดมีผลคลาดเคลื่อน
- เนื่องจากผลการผ่าตัดส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับ โครงสร้างพื้นฐานเดิมของผู้ป่วย ได้แก่ กรณีมีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนมาก เนื่องจากคลอดบุตรหลายคน รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวและการดูแลแผลผ่าตัดที่ถูกต้องของผู้ป่วย ในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วเกิดแผลแยกหลังการผ่าตัด
- อย่างไรก็ตามทั้งนี้อาจจะเกิดจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม ที่ทําให้การผ่าตัดมีผลคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น หรือกรณีเป็นความต้องการของผู้ป่วย ที่ต้องการผ่าตัดแก้ไข เนื่องจากไม่พึงพอใจผลการผ่าตัดก็อาจทำได้ โดยการพิจารณาตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังการผ่าตัด
ความเสี่ยง หรือ ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้าและด้านหลังช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง เป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ดังนั้นโปรดทราบว่า ต่อให้แพทย์ทําการผ่าตัด–เย็บแผลผ่าตัดอย่างระมัดระวังเท่าใดก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าแผลผ่าตัดเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้เข้ารับการผ่าตัดต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคําแนะนําหลังการผ่าตัดโดยเคร่งครัด ในกรณีที่ผู้เข้ารับการผ่าตัด เกิดภาวะแทรกซ้อน กรุณาโทรติดต่อโรงพยาบาลทันที เพื่อขอรับคำแนะนำ หรือกลับมาพบแพทย์ เพื่อตรวจแผลผ่าตัด