ปัจจุบันสามารถแบ่งแนวทางการรักษา ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน ออกเป็น 5 วิธีหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
1) การรักษา ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน โดยการปรับพฤติกรรม
โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน ถึงแม้ว่าปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากวัยที่เพิ่มขึ้น, กรรมพันธุ์, การตั้งครรภ์และการคลอดทางช่องคลอด รวมทั้งความเสื่อมของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
แต่สำหรับพฤติกรรมบางอย่าง เราสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ เช่น การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ไอ, จาม เรื้อรัง, ดูแลระบบขับถ่าย เพื่อไม่ให้ท้องผูก, หลีกเลี่ยงการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก และควบคุมนํ้าหนัก เพื่อป้องกันภาวะอ้วน
ซึ่งพฤติกรรมทั้งหมดนี้ ส่งผลต่อการเพิ่มแรงดันในช่องท้องให้เพิ่มมากขึ้น เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้มากขึ้นตามไปด้วย หากเราปรับพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ก็จะทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิด ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ได้
2) การรักษา ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน โดยการขมิบกล้ามเนื้อของช่องคลอด
ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด หลักการคือทำให้กล้ามเนื้อที่พยุง ช่องคลอด ให้มีความแข็งแรงขึ้น ซึ่งได้ผลดีสำหรับผู้ป่วย ที่มีอวัยวะ อุ้งเชิงกรานหย่อน ไม่มาก ส่วนในรายที่เป็นมาก แม้การขมิบช่องคลอดจะไม่ทำให้หาย แต่ก็สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ และช่วยลดอาการ ปัสสาวะเล็ด ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ต้องมีการฝึกขมิบอย่างถูกต้องและฝึกขมิบนานอย่างน้อย 3-6 เดือน จึงจะได้ผลและผลที่ได้ก็มีขีดจำกัด
3) การรักษา ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน โดยการใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงในช่องคลอด
ทำจากซิลิโคนและมีหลากหลายรูปแบบ ผู้ป่วยสามารถใส่และถอดได้ด้วยตัวเอง หลักการคือใส่เข้าไปในช่องคลอด เพื่อช่วยค้ำยันอวัยวะภายใน ช่องคลอดไ ม่ให้หย่อนลงมา ผลการรักษามีประสิทธิภาพดี สามารถทดแทนการผ่าตัดได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของผู้ป่วยด้วย
ข้อดีคือ ไม่ต้องผ่าตัด ข้อเสียคือ ต้องคอยดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์เป็นประจำ ซึ่งในระยะยาว ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งเปลี่ยนใจไปรักษาโดยการผ่าตัดแทน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง เช่น มีแผลในช่องคลอด หรือมีตกขาวเรื้อรัง เป็นต้น
4) การใช้เลเซอร์รักษา ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน แบบที่ไม่มีบาดแผลผ่าตัด
เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งยังไม่เคยมีการนำมาใช้ในทาง นรีเวชทางเดินปัสสาวะ มาก่อน ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งทางนรีเวช (ศูนย์จุดซ่อนเร้น) โรงพยาบาลยันฮี ถือเป็นแห่งแรกที่เปิดให้บริการเลเซอร์ เพื่อช่วยรักษา ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ที่ไม่รุนแรง แบบที่ไม่มีบาดแผล ทำให้ผู้รับบริการจะไม่มีอาการปวดและไม่มีการสูญเสียเลือด
แต่อย่างไรก็ตามการทำเลเซอร์ โดยวิธีนี้มีข้อจำกัด คือควรทําในสุภาพสตรี ที่มี ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนที่ มีความหย่อนยานของ ช่องคลอด ที่ไม่รุนแรง เพราะความกระชับของ ช่องคลอด เกิดจากพลังงานเลเซอร์ ที่มีความร้อนที่ส่งไปยังบริเวณ ปากช่องคลอด และใน ช่องคลอด ซึ่งส่งผลให้คอลลาเจนเกิดการหดตัวลงในทันที ทำให้เยื่อบุช่องคลอดหดสั้นลง ส่งผลให้ช่องคลอดแคบลง อีกทั้งเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างคอลลาเจนบริเวณรอบๆ ช่องคลอด อย่างไรก็ตามเนื้อเยื่อช่องคลอดของผู้หญิงแต่ละคน ก็อาจมีการตอบสนองต่อเลเซอร์ สร้างคอลลาเจนได้ไม่เท่ากัน
การผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้า และ ด้านหลัง ช่องคลอด
การผ่าตัด ตกแต่งด้านหน้า และด้านหลัง ช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง
5) การรักษา ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน โดยการผ่าตัด
5.1) การผ่าตัด รีแพร์ ทางด้านหลังของผนัง ช่องคลอด (Posterior Vaginal Repair)
เป็นการผ่าตัดแก้ไข ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน–หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน–หรือ ภาวะหย่อนยานของผนัง ช่องคลอด เฉพาะทางด้านหลังของผนังช่องคลอด ซึ่งจะช่วยลดขนาดความกว้างของช่องคลอด และช่วยแก้ไขภาวะหย่อนยานของช่องคลอดให้ดีขึ้นบางส่วน แต่จะไม่สามารถแก้ไข ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน–หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน–หรือ ภาวะหย่อนยาน ของผนังช่องคลอดหรือ ชนิดรุนแรงได้
5.2) การผ่าตัด รีแพร์ ด้านหน้า และ ด้านหลังของผนัง ช่องคลอด (A-P Vaginal Repair)
เป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไข ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน และในขณะเดียวกันก็ทำให้ ช่องคลอด กระชับขึ้นด้วย เป็นผ่าตัดเอาผนังช่องคลอดและเนื้อเยื่อส่วนเกินทั้ง ด้านหน้าและด้านหลังของผนังช่องคลอด โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มี ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน–หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน ชนิดรุนแรง การผ่าตัด ตกแต่งทางด้านหน้า และ ด้านหลังของช่องคลอด สามารถลด ภาวะหย่อนยานของผนังช่องคลอด หรือ ขนาดช่องคลอด ได้มากกว่า การผ่าตัด รีแพร์ ทางด้านหลัง (Posterior Vaginal Repair)
เป็นวิธีการผ่าตัดแก้ไข ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน “อย่างรุนแรง” โดยหวังผลเพื่อนำเนื้อเยื่อและอวัยวะใน อุ้งเชิงกราน ที่หย่อนยานให้กลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม โดยการผ่าตัดแทนที่ผนังช่องคลอด และเนื้อเยื่อรอบช่องคลอด ด้วยแผ่นพยุงวัสดุสังเคราะห์ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของผนังช่องคลอดขึ้นมาใหม่
ซึ่งได้ผลค่อนข้างดี การผ่าตัดส่วนใหญ่สามารถทำผ่าตัดผ่านทาง ช่องคลอด ได้ ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้ค่อนข้างเร็ว อย่างไรก็ตามยังมีรายงานถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น และราคาผ่าตัดที่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงสภาพร่างกายของผู้ที่ต้องการผ่าตัดด้วยว่า มีความพร้อมสำหรับการผ่าตัดชนิดนี้หรือไม่
แนวทางการรักษา ภาวะอุ้งเชิงการหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน ดังกล่าวทั้งหมด ได้แก่ การปรับพฤติกรรม, การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยการ ขมิบช่องคลอด, การใส่ ห่วงพยุงช่องคลอด, การทําเลเซอร์รักษาภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ที่ไม่รุนแรง และ การผ่าตัด ตกแต่งช่องคลอด เหล่านี้เป็นนวัตกรรมการรักษาที่เป็นมาตรฐานทางการแพทย์ ซึ่งการที่จะเลือกวิธีการใดในการแก้ปัญหา ก็ขึ้นอยู่กับคนไข้และแพทย์ที่จะปรึกษาร่วมกันว่าวิธีใด สะดวก, ปลอดภัย, ราคาไม่แพงเกินไป และมีประสิทธิภาพดี รวมทั้งเหมาะสมกับคนไข้รายนั้นๆ เพราะคนไข้แต่ละคนย่อมเหมาะสมกับวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน