ปัจจัยสําคัญ ของการผ่าตัด ศัลยกรรมนรีเวชเวชทางเดินปัสสาวะ

ปัจจัยสําคัญ ของการผ่าตัด ศัลยกรรมนรีเวชเวชทางเดินปัสสาวะ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ปัจจัย

1 . ปัจจัยสําคัญ ของการผ่าตัด ศัลยกรรมนรีเวชเวชทางเดินปัสสาวะ อย่างแรก คือ แพทย์ผู้ทำการผ่าตัด

สำหรับแพทย์ผ่าตัดทาง ศัลยกรรมนรีเวชเวชทางเดินปัสสาวะ ไม่ใช่แค่มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการทำการผ่าตัดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวิเคราะห์ถึงภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนการให้การรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนกับผู้เข้ารับการผ่าตัด

1.1) แพทย์ผู้ผ่าตัด ควรมีความรู้เกี่ยวกับ เทคนิคพิเศษ ในการผ่าตัด ที่เหมาะสมในผู้เข้ารับการผ่าตัดแต่ละคน

  •  อาทิ ในผู้เข้ารับการผ่าตัดชาวต่างชาติ ที่ต้องเดินทางกลับต่างประเทศภายใน 5 วันหลังการผ่าตัด อาจจําเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษ ในการเย็บแผลผ่าตัด เพื่อป้องกันการแยกของแผลผ่าตัด

1.2) แพทย์ผู้ผ่าตัด ควรมีความรู้เกี่ยวกับ การเลือกใช้ไหมที่ใช้เย็บแผลผ่าตัด

  •  ที่จะต้องละลายในเวลาที่เหมาะสม–ที่สําคัญคือไหม ต้องละลาย–หลังจากแผลผ่าตัดติดดีแล้ว

1.3)  แพทย์ผู้ผ่าตัด ควรมีความรู้เกี่ยวกับ การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ

  • แพทย์ผู้ผ่าตัด ควรมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัด ในผู้เข้ารับการผ่าตัดแต่ละคน เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัด ที่อาจจะแตกต่างกัน ระหว่างคนไทยหรือคนต่างชาติ เนื่องจากความไวในการติดเชื้อแต่ละชนิดแตกต่างกัน

1.4) แพทย์ผู้ผ่าตัด ควรมีความรู้เกี่ยวกับ คําแนะนําที่ถูกต้องและเหมาะสม

  • ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดแก่ผู้เข้ารับการผ่าตัดแต่ละคน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด เพราะผู้เข้ารับการผ่าตัดแต่ละคน มีลักษณะการดําเนินชีวิตที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจทําให้ไม่สามารถปฏิบัติตามคําแนะนํา ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดที่ถูกต้องได้ทั้งหมด ดังนั้นก่อนการผ่าตัด ควรมีการวางแผนร่วมกัน ระหว่างผู้เข้ารับการผ่าตัดและแพทย์ หลังการผ่าตัด

1.5) แพทย์ผู้ผ่าตัด ต้องเปิดกว้างยอมรับข้อผิดพลาด

  • และมีความซื่อสัตย์ รวมทั้งมีความรับผิดชอบ พร้อมที่จะช่วยเหลือและแก้ไขข้อผิดพลาด เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นกับผู้เข้ารับการผ่าตัด

2 .ปัจจัยสําคัญของการผ่าตัด ศัลยกรรมนรีเวชเวชทางเดินปัสสาวะ อย่างที่สอง คือ ผู้เข้ารับการผ่าตัด

2.1) ผลลัพธ์ที่ดีของการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับ พยาธิสภาพ ก่อนการผ่าตัด ของผู้เข้ารับการผ่าตัดแต่ละคน

  • เช่น การผ่าตัด ตกแต่งช่องคลอด ในผู้เข้ารับการผ่าตัดที่ผ่านการคลอดบุตร 2 คน เปรียบเทียบกับการผ่าตัด ตกแต่งช่องคลอด ในผู้เข้ารับการผ่าตัดในที่ผ่านการคลอดบุตร 5 คน ผลลัพธ์ของการผ่าตัด ย่อมมีความแตกต่างกัน

2.2) ผลลัพธ์ที่ดีของการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับ สุขภาพ ของผู้เข้ารับการผ่าตัด

  • เนื่องจากการมีโรคประจําตัวบางอย่าง หรืออายุที่มากเกินไป อาจส่งผลถึงกระบวนการหายของแผลผ่าตัด ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่แพทย์ไม่สามารถควบคุมได้

2.3) ผลลัพธ์ที่ดีของการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับ การปฏิบัติตัว หรือ การดูแลหลังการผ่าตัด ที่ถูกต้องของผู้เข้ารับการผ่าตัด 

  • ปัจจัยสําคัญ ของการผ่าตัด ศัลยกรรมนรีเวชเวชทางเดินปัสสาวะเนื่องจากเป็นการผ่าตัดบริเวณ ปากช่องคลอด และใน ช่องคลอด ซึ่งแผลผ่าตัดจะโดนน้ำ หรือสารคัดหลั่งจากภายใน ช่องคลอด ตลอดเวลา ซึ่งความชื้นของแผลผ่าตัด ส่งผลให้แผลผ่าตัด ใช้เวลาในการหายนานกว่าแผลผ่าตัดทั่วไป และมีโอกาสเกิดการอักเสบและติดเชื้อของแผลผ่าตัดมากกว่า แผลผ่าตัดในบริเวณอื่นๆ ซึ่งการอักเสบและการติดเชื้อของแผลผ่าตัด จะทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เกิดแผลผ่าตัดติดผิดรูป, เกิดรอยแผลเป็น หรือแผลผ่าตัดแยก ทําให้มีเลือดออกมากผิดปกติ ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อแล้วเกิดแผลแยก โดยการฉีดยาปฏิชีวนะก่อนการผ่าตัด และการผ่าตัดด้วยเครื่องมือและเทคนิคปลอดเชื้อถือเป็นสิ่งสําคัญ
  • รวมทั้งเมื่อกลับบ้าน ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัดให้ครบทั้งหมด เนื่องจากแผลผ่าตัดทาง นรีเวชทางเดินปัสสาวะ ถือเป็นแผลผ่าตัดที่มีการปนเปื้อน (contaminated surgical wound) เพราะอยู่บริเวณใกล้ทางเดินปัสสาวะและทางเดินอุจจาระ ซึ่งมีแบคทีเรียต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน จากการการติดเชื้อของแผลผ่าตัดได้
  • ในระยะ 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด ในผู้เข้ารับการผ่าตัดบางราย อาจมีความจำเป็นที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ เพื่อป้องกันอาการปัสสาวะลำบากหลังการผ่าตัด  ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบปากช่องคลอด ในระยะแรกหลังการผ่าตัด หลังจากนั้นเมื่อภาวะตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบปากช่องคลอดลดลง ผู้เข้ารับการผ่าตัดก็จะปัสสาวะได้เองตามปกติ
  • วิธีการพักฟื้นจะแตกต่างออกไป ในผู้เข้ารับการผ่าตัดแต่ละคน แต่ภายในวันที่ 2-3 หลังจากที่เข้ารับการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะสามารถลุกและเดินไปรอบๆ ได้เล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามผู้เข้ารับการผ่าตัด ควรจะต้องหยุดทำงานและงดกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำเป็นประจำ ในช่วง 1-2 วัน หรือ 2-3 วัน หรือ 5-7 วันแรกหลังการผ่าตัด ทั้งขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด
  • ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ควรพยายามหลีกเลี่ยงความอับชื้นบริเวณแผลผ่าตัด การทำความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัด หลังการถ่ายปัสสาวะ ทำได้โดยการซับด้วยทิชชูเปียก (Sanitary Wipes) และหลังการถ่ายอุจจาระ ทำได้โดยการล้างผ่านน้ำเปล่าแล้วซับเบาๆ ให้แห้ง
  • ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด บริเวณที่ทำการผ่าตัดยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจจะค่อยๆ กลับมาทำกิจกรรมทางกายภาพต่างๆ ที่ต้องใช้กำลังได้เล็กน้อยและยกของเบาๆ ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางกายภาพที่ต้องที่ต้องเดินมากๆ และการขึ้นลงบันไดบ่อยๆ
  • ในช่วงหลังสัปดาห์ที่ 2 จนถึงสัปดาห์ที่ 4 หลังการผ่าตัด บริเวณที่ทำการผ่าตัดอาจจะยังคงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างไรก็ตามผู้เข้ารับการผ่าตัด สามารถทำกิจกรรมทางกายภาพต่างๆ ที่ต้องใช้กำลังปานกลางได้พอควร แต่ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางกายภาพ ที่ต้องใช้กำลังที่ส่งผลกระทบต่อแผลผ่าตัด
  • ในช่วงหลังสัปดาห์ที่ 4 จนถึงสัปดาห์ที่ 6 หลังการผ่าตัด บริเวณที่ทำการผ่าตัดยังคงไม่หายดีนัก ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ทางกายภาพที่ต้องใช้กำลังปานกลางได้มากขึ้น และสามารถออกกำลังกายที่ใช้แรงของลำตัวช่วงบนได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางกายภาพที่ต้องใช้กำลังมาก เช่น การเดินเร็ว, การวิ่งออกกำลังกาย, การว่ายน้ำ, งดการแช่น้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำ, การออกกําลังกายโดยการยกของหนัก, การขี่จักรยาน และ การออกกําลังกายกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน รวมทั้งควรงดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ 

ปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ดี ของการผ่าตัด ศัลยกรรมนรีเวชเวชทางเดินปัสสาวะ ขึ้นอยู่กับ แพทย์ และตัวผู้เข้ารับการผ่าตัด ซึ่งมีความสำคัญเท่าๆ กัน ดังนั้นโปรดทราบว่า ต่อให้แพทย์ทําการผ่าตัด–เย็บแผลผ่าตัดอย่างระมัดระวังเท่าใดก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าแผลผ่าตัดเกิดการอักเสบและติดเชื้อ ผู้เข้ารับการผ่าตัดต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคําแนะนําหลังการผ่าตัดโดยเคร่งครัด

ข้ามไปยังทูลบาร์