ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่ออวัยวะภายใน อุ้งเชิงกราน ของผู้หญิง ได้แก่ มดลูก, ผนังช่องคลอด หรือทั้งสองอย่าง หย่อนลงมาจากตำแหน่งเดิมที่อยู่ภายใน ช่องคลอด หรือในบางรายอาจหย่อนออกมานอก ช่องคลอด อาจเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกวัย แต่เป็นภาวะที่มักพบได้
- ในสุภาพสตรีที่มีอายุมาก
- โดยเฉพาะกับสุภาพสตรีที่เคยคลอดบุตร ที่มีขนาดตัวค่อนข้างตัวใหญ่
- สุภาพสตรีที่ผ่านการคลอดบุตร มาแล้วหลายๆ ครั้ง ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานซ้ำๆ บ่อยครั้ง
- สุภาพสตรีที่ผ่านระยะเวลา ในการทำงานที่ต้องใช้กำลังมาก ที่ส่งผลให้มีการเพิ่มความดันภายในช่องท้องมาเป็นเวลานาน
- สุภาพสตรีที่มีน้ำหนักตัวมาก (คนอ้วน) หรือสุภาพสตรีที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้ออ่อนแอโดยกำเนิด รวมทั้งสุภาพสตรีที่สูบบุหรี่ ทำให้มีภาวะไอเรื้อรัง
การรักษา ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน
ชนิดที่ไม่รุนแรง สามารถรักษาได้โดยการขมิบช่องคลอด เพื่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะ อุ้งเชิงกรานหย่อน ในระดับรุนแรง เช่น มดลูกหย่อนออกมานอก ช่องคลอด จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อสร้างเสริมผนังช่องคลอดใหม่, การผ่าตัดใส่แผ่นพยุงมดลูก หรือโดยการผ่าตัดเย็บตรึงมดลูกให้ยึดติดกับเนื้อเยื่อใกล้เคียงที่อยู่ในช่องท้อง ทำให้มดลูกกลับไปยังตำแหน่งเดิม โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดมดลูกออก
แต่แนวทางปฏิบัติทางนรีเวชศาสตร์แบบดั้งเดิม สนับสนุนการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออก ในการรักษาภาวะ อุ้งเชิงกรานหย่อน จากสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าในผู้หญิงที่ทำการผ่าตัดมดลูกออกราว 600,000 รายนั้น พบว่ามี 13% ของทั้งหมด เป็นการผ่าตัดมดลูกออกเนื่องจาก ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน อย่างไรก็ตามยังมีข้อโต้แย้งกันว่า การผ่าตัดเอามดลูกออกนั้น อาจไม่จำเป็น ควรใช้การผ่าตัดเย็บตรึงมดลูก ซึ่งสามารถใช้ทดแทนกันได้
อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน
ส่งผลให้ กระเพาะปัสสาวะห รือ ลำไส้ใหญ่ เกิดการหย่อนคล้อย อันเป็นผลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ ที่อยู่ระหว่างผนังช่ องคลอด ด้านหน้า และ ด้านหลัง ตามลำดับ อาการของ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนนี้ อาจทำให้มีความรู้สึกว่ามีแรงดันถ่วงภายใน อุ้งเชิงกราน หรือการที่มีอวัยวะใน อุ้งเชิงกราน ยื่นออกมาจาก ช่องคลอด จนสามารถมองเห็นได้ อาการนี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น อาการของ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ขั้นรุนแรงในระดับ ขั้นที่ 3-4
ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน อาจจะไม่สร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยเลยแม้แต่น้อย แต่ว่าการที่ตำแหน่งของอวัยวะต่างๆ ใน อุ้งเชิงกราน ที่เปลี่ยนไป สามารถก่อให้เกิดอาการ หรือส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินปัสสาวะและลำไส้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมักจะรู้สึกว่ากระเพาะปัสสาวะปวดถ่วงมากกว่าปกติ เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เมื่อทำกิจวัตรต่างๆ ที่ใช้ร่างกาย เช่น การหัวเราะ, การไอ, การเดิน และ/หรือการวิ่ง รวมทั้งขณะมีเพศสัมพันธ์
เนื่องจาก ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน
มีความซับซ้อน ส่งผลให้ในผู้ป่วยแต่ละคน ก็จะมีอาการแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าภาวะหย่อนยานนั้นเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนใด ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ไม่มารับการรักษา เพราะไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่ไม่มารับการรักษา เนื่องจากความอาย หรือไม่ทราบว่าภาวะดังกล่าวนี้สามารถรักษาได้ พบว่าถึงแม้ว่าอุบัติการณ์ทั่วโลกจะพบผู้ป่ว ยภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ในเปอร์เซ็นต์สูง แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบคล้ายกันคือ ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำ เนื่องจากมักคิดว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ อีกทั้งเป็นเรื่องความเชื่อ หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่
ต้องการอ่านเพิ่มเติม โปรดคลิ๊ก
ปัญหาทั่วไปของอวัยวะเพศภายนอกของผู้หญิง
คำถามบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดรีแพร์ด้านหน้าและด้านหลังผนังช่องคลอด
ในทางการแพทย์แบ่งกลุ่มอาการ เนื่องจาก ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน ออกเป็น 3 กลุ่มอาการที่สำคัญ ได้แก่
1) อาการเกี่ยวกับ การมีเพศสัมพันธ์
- รู้สึกช่องคลอดหลวม ทำให้เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
- มีลมหรือมีเสียงขณะมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ ลดความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์
2) อาการเกี่ยวกับ การหย่อนของอวัยวะใน อุ้งเชิงกรานหย่อน โดยตรง
- มดลูกที่หย่อน ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญปวดหน่วง
- มีอาการเดินลำบาก มีการเสียดสีของมดลูกที่หย่อน ขณะเดินหรือเคลื่อนไหว ทำให้มีแผลที่ปากมดลูกหรือมีตกขาวผิดปกติ
3) อาการเกี่ยวกับ ระบบทางเดินอุจจาระ หรือ ระบบทางเดินปัสสาวะ
- มีอาการท้องผูก, กลั้นอุจจาระไม่ได้, มีภาวะปัสสาวะเล็ด, ปัสสาวะราด, ปัสสาวะบ่อย, ปัสสาวะลำบาก
- บางครั้งคนไข้ต้องดันก้อนมดลูก ที่หย่อนออกมานอกช่องคลอด ให้เข้าไปในช่องคลอดก่อน จึงจะถ่ายปัสสาวะได้
ซึ่งอาการทั้ง 3 กลุ่ม สามารถพบร่วมกันได้ ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน
ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน สามารถแบ่งได้เป็น ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน เนื่องจาก
- มดลูกหย่อน
- ผนังช่องคลอด ด้านหน้าหย่อน
- ผนังช่องคลอด ด้านหลังหย่อน
- ทั้ง 3 ส่วน หย่อนพร้อมกัน คือ มดลูกหย่อน ร่วมกับ ผนังช่องคลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลังหย่อน
นอกจากนี้ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน สามารถแบ่งตามอวัยวะที่หย่อนคล้อยแตกต่างกันดังนี้ (ดังรูป)
กระเพาะปัสสาวะหย่อน ลงมาในช่องคลอด (Cystocele) เกิดขึ้นเมื่อกระเพาะปัสสาวะเคลื่อนตัวหย่อนลงมาจากตำแหน่งปกติ ทำให้มีอาการผิดปกติ เนื่องจากภาวะปัสสาวะลําบาก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือ อาจทำให้มีอาการ ปัสสาวะเล็ด ในขณะช่วงที่มีการทํากิจกรรมทางกายภาพบางอย่าง
ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหย่อน ลงมาในช่องคลอด (Rectocele) เกิดขึ้นเมื่อลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรงดันผนังช่องคลอด หรือดันผนังช่องคลอดให้ยื่นออกจากช่องคลอด ภาวะลำไส้ส่วนปลายหย่อน มักมีสาเหตุมาจาก อาการบาดเจ็บเรื้อรังจากการคลอดบุตร ส่วนของลำไส้ใหญ่ที่ยื่นออกมาในช่องคลอดนั้น ส่งผลให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ยาก จึงเกิดอาการท้องผูกเรื้อรัง
เลำไส้ส่วนบนหรือส่วนของลำไส้เล็กหย่อน ลงมาในช่องคลอด (Enterocele) เป็นการเคลื่อนตัวของลำไส้เล็กไปดันผนังช่องคลอดด้านหลัง
ท่อปัสสาวะหย่อน ลงมาในช่องคลอด (Urethrocele) มักเกิดขึ้นร่วมกับภาวะกระเพาะปัสสาวะหย่อน ซึ่งอาการที่พบได้ คือ มักมีปัสสาวะเล็ดออกมาโดยไม่รู้ตัว และกลั้นปัสสาวะไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีแรงดันในช่องท้องที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการเดิน, การกระโดด, การไอ, การจาม, การหัวเราะ, การเคลื่อนไหว หรือการออกกําลังกาย
มดลูกหย่อน ลงมาในช่องคลอด ( Uterine Prolapse) มักจะเกิดขึ้นเมื่อมดลูกเคลื่อนตัวหย่อนลงมาจากตำแหน่งปกติ ระดับความรุนแรงมีความหลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเคลื่อนตัวลงดังกล่าว ทำให้เกิดน้ำหนักกดลงที่ ปากช่องคลอด หรือมีความรู้สึกเหมือนว่ามดลูกกำลังขยับตัวลง–เหมือนจะหลุดออกจากช่องคลอด
ในทางการแพทย์ สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน ออกเป็น 4 ระดับ
- ระดับ 1 คือ มีอาการ ช่องคลอด ไม่ค่อยกระชับ
- ระดับ 2 คือ มีภาวะช่องคลอดหย่อน ที่สังเกตเห็นได้ แต่เนื้อเยื่อผนังช่องคลอด ที่หย่อน ยังไม่โผล่ออกมาด้านนอกของช่องคลอด
- ระดับ 3 คือ มีภาวะที่มีการหย่อนของผนัง ช่องคลอด และมีเนื้อเยื่อของผนังช่องคลอดที่หย่อน ออกมาจากช่องคลอดออกมาบางส่วน
- ระดับ 4 คือ กรณีที่มีการหย่อนของผนังช่องคลอดมากที่สุด คือเนื้อเยื่อของผนังช่องคลอด รวมทั้งมดลูก–หย่อนออกมาจากช่องคลอดทั้งหมด สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
การวินิจฉัย ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน ต้องอาศัยสิ่งต่อไปนี้
- การซักประวัติ และตรวจร่างกาย (History and Physical Examination)
- การตรวจสอบการทำงานของ กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ โดยการวัดการบีบตัวของ กระเพาะปัสสาวะ และโดยการวัดความสามารถในการพยุง ท่อปัสสาวะ ของกล้ามเนื้อใน ช่องคลอด
- การวัดความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่พยุง ช่องคลอด รวมทั้งกล้ามเนื้อหูรูด ทางเดินปัสสาวะ และ ทางเดินอุจจาระ (Strength of Pelvic Floor and Sphincter Muscles)
- การส่องกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะ (Urethrocystoscopy) อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบ กระเพาะปัสสาวะ และ ท่อปัสสาวะ ด้านใน
- การตรวจสอบโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) กับระบบอวัยวะสืบพันธุ์ และ ระบบทางเดินปัสสาวะ
- การตรวจสอบโดยใช้ Magnetic resonance imaging (MRI) กับระบบอวัยวะสืบพันธุ์ และ ระบบทางเดินปัสสาวะ
กล่าวโดยสรุปคือ แพทย์สามารถให้การวินิจฉัย ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อน ได้จากการสอบถามอาการผิดปกติ ร่วมกับการตรวจภายใน และการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์จะอาศัยผลลัพธ์ที่ได้ แล้วทำการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะนี้ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป