คำถามบ่อยเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด ตกแต่งช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง

Q : กรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ทำให้เกิดแผ่นพยุงโผล่หรือแผ่นพยุงยื่นออกจากช่องคลอด จะต้องทำอย่างไร?

  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดตกแต่งช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุงเป็น ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดตกแต่งช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง ที่พบได้บ่อยที่สุด มักจัดว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง และสามารถรักษาได้ง่ายๆ ด้วยการผ่าตัดเล็ก
  • นวัตกรรมด้านแผ่นพยุงมีการพัฒนาขึ้น ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้เห็นว่าการใช้แผ่นพยุงแบบบาง ทำให้อัตราการโผล่ตัวของแผ่นพยุงลดลงถึง ร้อยละ 50 แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัดด้วยเช่นกัน
  • เมื่อแผ่นพยุงโผล่ตัวออกจากช่องคลอด จะทำให้เกิดเลือดออกหรือมีอาการปวด การรักษาแบบประคับประคอง อาจใช้รักษาในกรณีเมื่อมีอาการไม่มากนัก เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะและ/หรือการทาครีมเอสโตรเจนที่บริเวณช่องคลอด
  • การผ่าตัดเอาแผ่นพยุงออก มีความจำเป็นเมื่อแผ่นพยุงโผล่ออกมาที่ช่องคลอด หรือเมื่ออาการปวดไม่ทุเลาลงด้วยการรักษาแบบประคับประคอง ถือว่าเป็นการผ่าตัดเล็ก เพื่อตัดหรือเล็มแผ่นพยุงที่โผล่ออก

 Q : กรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ทำให้แผ่นพยุงเคลื่อนตัวไปยังกระเพาะปัสสาวะหรือลําไส้ใหญ่ จำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไขหรือไม่?

  • กรณีแผ่นพยุงเคลื่อนตัวไปยังกระเพาะปัสสาวะ จำเป็นต้องมีการผ่าตัดแก้ไข อาการที่พบ ได้แก่ อาการปวดกระเพาะปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือดปน, เกิดการติดเชื้อเรื้อรังในทางเดินปัสสาวะ, ระบบการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ, อาการปัสสาวะราด, ปวดปัสสาวะบ่อย รวมทั้งมีอาการปวดเวลาขับถ่ายปัสสาวะ
  • กรณีแผ่นพยุงเคลื่อนตัวไปยังลำไส้ใหญ่ ทำให้มีรูทะลุเกิดขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้มีปัสสาวะหรืออุจจาระไหลออกทางช่องคลอด, อุจจาระมีเลือดปน, มีฝีในช่องคลอด, มีอาการปวดในลำไส้ใหญ่ หรือมีอาการติดเชื้ออื่นๆ ทั่วร่างกาย ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขโดยเร็ว

Q : ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดตกแต่งช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง ทำให้เกิดอาการปวดช่องคลอด ปวดขา และ/หรือสะโพกได้หรือไม่?

  • สามารถเกิดขึ้นได้ หากวางแผ่นพยุงตึงเกินไปหรือมีแรงดึงจากแผ่นพยุงไปยังกล้ามเนื้อ หรือเส้นประสาทในอุ้งเชิงกราน ซึ่งโดยทั่วไปแพทย์มักจะพยายามวางแผ่นพยุงให้ไม่มีแรงตึง (mesh tension-free) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวนี้
  • อย่างไรก็ตามหากมีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้น การรักษาภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวสามารถทำได้ โดยการผ่าตัดเพื่อนำแผ่นพยุงที่เป็นสาเหตุของอาการปวดออกไป

 


ต้องการอ่านเพิ่มเติม โปรดคลิ๊ก

ปัญหาทั่วไปของ อวัยวะเพศ ภายนอกของผู้หญิง

คำถามบ่อย เกี่ยวกับการผ่าตัด รีแพร์ ด้านหน้าและด้านหลังผนังช่องคลอด


 

 Q : ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดตกแต่งช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง ทำให้เกิดอาการปวดในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่?

  • เกิดขึ้นเมื่อวางแผ่นพยุงตึงกินไป หรือใช้แผ่นพยุงผิดวิธี ทำให้กล้ามเนื้อเกิด “แรงตึง” ทำให้มีอาการปวดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์  ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ ในการผ่าตัดทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับช่องคลอด ไม่ว่าจะมีการใช้แผ่นพยุงหรือไม่ก็ตาม
  • หากมีการตรวจบริเวณที่มีอาการปวด และพบว่าแผ่นพยุงที่วางไว้ตึงเกินไป เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวด การรักษาอาจใช้การรักษาแบบประคับประคอง เช่น ในกรณีหากมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยที่อุ้งเชิงกราน อาจจะทําการฉีดยาแก้ปวด หรือการฉีดยาแก้อักเสบ แต่หากมีอาการปวดรุนแรง อาจจะจําเป็นต้องมีการผ่าตัดแก้ไข

Q : ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดตกแต่งช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง ทำให้เกิดการติดเชื้อส่งผลให้เกิดการทะลุของผนังช่องคลอด จะต้องทำอย่างไร?

  • เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีโอกาสพบได้น้อยมาก อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ มีไข้, มีการติดเชื้อ, มีหนองในช่องคลอด, มีอุจจาระหรือปัสสาวะไหลออกทางช่องคลอด ถือเป็นภาวะแทรกช้อนที่รุนแรง ซึ่งจําเป็นต้องทําการผ่าตัดนำแผ่นพยุงออก

ภาวะแทรกซ้อนการผ่าตัดตกแต่งช่องคลอด แบบเสริมแผ่นพยุง สามารถเกิดขึ้นได้ จากการศึกษาพบว่า ไม่ว่าแพทย์จะวางแผ่นพยุงอย่างระมัดระวังมากเพียงใดก็ตาม บางครั้งก็ยังคงมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ได้แก่ แผ่นพยุงโผล่, แผ่นพยุงเคลื่อนตัวจากตำแหน่งเดิม, มีอาการปวด, เกิดการติดเชื้อหรือเกิดรูรั่วที่ช่องคลอด ซึ่งหากมีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้น การรักษาสามารถทำได้ โดยการผ่าตัดแก้ไขและการผ่าตัดนำเอาแผ่นพยุงที่เป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนออกไป

ข้ามไปยังทูลบาร์