ข้อความเกี่ยวกับ การมีอยู่ของจุด จี สปอท (G-Spot) นี้ คัดลอกจากการประชุมด้านนรีเวชวิทยาขั้นสูงโดย ดร. ออสเตร็ซ์นสกี้ ในวันที่ 26-29 มกราคม 2555 ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา
เป็นเวลากว่าหลายทศวรรษแล้ว ที่มีการกล่าวถึง การมีอยู่ของ จุด จี สปอท (G-Spot existence) ตำแหน่งของจุด จี สปอท (G-Spot) และขนาดของ จุด จี สปอท (G-Spot) ซึ่งถือว่าเป็นอีกหัวข้อหนึ่ง–ที่เป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดในแวดวงวิชาการ เกี่ยวกับภาวะการรับความรู้สึกทางเพศของผู้หญิง
มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ซึ่งช่วยสนับสนุนข้อมูล เกี่ยวกับการมีอยู่ทางกายภาพของ จุด จี ส ปอท (G-Spot) ได้เป็นอย่างดี เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ และเป็นประเด็นที่มักจะถูกกล่าวถึงเกี่ยวกับการมีอยู่ของ จุด จี สปอท (G-Spot) คือ การกระตุ้น จุด จี สปอท (G-Spot) จะทำให้ผนังช่องคลอดด้านหน้าส่วนปลายเกิดการขยายตัว เนื่องจากการขยายตัวของ จุด จี สปอท (G-Spot) ได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ให้สามารถเข้าถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ มีรายงานผลการศึกษาว่า ส่วนที่คุมจังหวะ (Vaginal Pacemaker) นี้อยู่ที่บริเวณช่องคลอดด้านหน้าส่วนปลาย ซึ่งทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้า (The Electrovaginogram) ขึ้นและสามารถบันทึกผลได้
ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าตัวคุมจังหวะช่องคลอด (Vaginal Pacemaker) ได้แสดงให้เห็นถึง จุด จี สปอท (G-Spot) ซึ่งผู้หญิงกล่าวว่า เป็นบริเวณขนาดเล็กในช่องคลอด ที่มีความไวต่อความรู้สึกทางเพศ มีรายงานการศึกษาโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง หรือการตรวจอัลตร้าซาวด์ พบว่าในระหว่างการหดตัว และการคลายตัวของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานตามธรรมชาตินั้น คลิตอริส มีการเคลื่อนไหวในทิศทางลง และเข้าใกล้กับผนังช่องคลอดด้านหน้าส่วนปลาย ในขณะเดียวกันบริเวณช่องคลอดด้านหน้าจะมีความไวต่อการกระตุ้น ซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่งของ จุดจี สปอท (G-Spot)
ศาสตราจารย์ ออสเตร็ซ์นสกี้ (Professor Ostrzenski) สรุปว่าที่บริเวณผิวผนังช่องคลอดด้านหน้าขึ้นไป จนถึงพังผืดยึดปากมดลูกไปเกาะที่ขอบของกระดูกมักไม่มีจุด จี สปอท (G-Spot) พร้อมทั้งตั้งสมมติฐานว่าจุดจี สปอท (G-Spot) อาจอยู่ลึกลงไปใต้ผิวผนังช่องคลอด
เนื่องจากมีสมมติฐานว่า การกระตุ้นช่องคลอดด้านหน้า ทำให้ผนังช่องคลอด มีการขยายตัวนั้น ศาสตราจารย์ ออสเตร็ซ์นสกี้ จึงกล่าวสรุปได้ว่า โครงสร้างของ จี สปอท (G-Spot) จะประกอบไปด้วย เนื้อเยื่อพองตัวและยุบตัวได้ ( Erectile tissues) ซึ่งทำให้เกิดการขยายตัวที่ผนังช่องคลอดด้านหน้า
ดังนั้นเพื่อเป็นการทดสอบสมมติฐานดังกล่าว จึงได้มีการผ่าตัดผนังช่องคลอดด้านหน้าเรียงเป็นชั้น ทั้งนี้เพื่อจะดูว่ามี จุด จี สปอท (G-Spot) จริงหรือไม่ โดยการสำรวจพื้นที่ใต้ผิวผนังช่องคลอด ระหว่างพื้นผิวด้านใต้ต่อผิวผนังช่องคลอดด้านหน้าขึ้นไป จนถึงพังผืดยึดปากมดลูกไปเกาะที่ขอบของกระดูก และพื้นที่บริเวณด้านบนของเนื้อเยื่อฝีเย็บด้านหลัง
ทั้งนี้มีรายงานถึงผลการศึกษาทางกายวิภาคของ ศาสตราจารย์ ออสเตร็ซ์นสกี้ พบว่า จุด จี สปอท (G-Spot) ทำมุม 350 องศาระหว่างท่อปัสสาวะ ที่มีขั้วด้านล่าง (Lower pole) ตั้งอยู่ห่างจากท่อปัสสาวะเป็นระยะ ทาง 3 ม.ม. และขั้วด้านบน (Upper pole) ที่มีความยาว 8.1 ม.ม. ตั้งอยู่ห่างจากท่อปัสสาวะเป็นระยะทาง 15 ม.ม. ทั้งนี้จุด G-Spot ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ลึกลงไปกว่าตำแหน่งที่ได้ศึกษาไว้ก่อนหน้านี้มาก ซึ่งเป็นโครงสร้างที่รวมตัวอยู่กันภายในส่วนห่อหุ้ม (Well-defined and uniform structure within a sack) และจุด G-Spot จัดเป็นเนื้อเยื่อพองตัวและยุบตัวได้ (Erectile tissue)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การฉีดเสริม จุด จีสปอท
พญ วิทัศศนา เขตต์กลาง ถ่ายรูปร่วมกับ ศาสตราจารย์ อดัม ออสเตร็ซ์นสกี้
และผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการทางการแพทย์จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกี่ยวกับการมีอยู่ของจุดจุด จี สปอท (G-Spot)
:: หัวข้อที่น่าสนใจ ::
คำถามที่ควรพิจารณาก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ต้องการดูรูปก่อนการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด