Q : การผ่าตัด แก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ดโดย TVT-O มีประโยชน์อะไรบ้าง?
การผ่าตัด แก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด โดยโดยสายคล้องพยุงท่อปัสสาวะ TVT-O ปลอดภัย และไม่เคยมีคนไข้รายใดที่ร่างกายปฏิเสธสิ่งปลูกถ่ายที่เป็นสายคล้องพยุงท่อปัสสาวะ TVT-O มาจนถึงทุกวันนี้
เป็นการผ่าตัดที่ใช้พื้นที่ในการผ่าตัดน้อย และสายคล้องพยุงสามารถปรับเปลี่ยนได้ระหว่างการผ่าตัด เพื่อให้ตำแหน่งที่เหมาะสมและให้ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ
การผ่าตัดนี้ เหมาะกับผู้หญิงที่สูงอายุและมีน้ำหนักตัวมาก ใช้เวลาในการพักฟื้นสั้น ภาวะแทรกซ้อนมีน้อยและเจ็บน้อยกว่าการรักษา โดยการผ่าตัดแบบเดิม
Q : ความเสี่ยง และ ภาวะแทรกซ้อน ในการผ่าตัด แก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด โดย TVT-O มีอะไรบ้าง?
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด จะมีการพูดคุยในรายละเอียดกับคุณ ก่อนที่คุณจะเข้ารับการผ่าตัด
ผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการอธิบายเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อน ทั่วไปของหัตถการ ได้แก่ ภาวะเลือดออก, ภาวะแผลติดเชื้อ, ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด, การแพ้ยาหรือสารอื่นที่ใช้ในการผ่าตัด รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจำเพาะของหัตถการ ได้แก่ ภาวะปัสสาวะลำบาก, ภาวะสายคล้องพยุงท่อปัสสาวะโผล่หรือยื่นออกจากช่องคลอด, การเกิดรูรั่วระหว่างท่อกระเพาะปัสสาวะกับช่องคลอด หรือการผ่าตัดล้มเหลวคือยังคงมีภาวะปัสสาวะเล็ดหลังการผ่าตัด
Q : จะมีอาการเจ็บปวด หลังการผ่าตัด แก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ดโดย TVT-O หรือไม่?
คุณควรเตรียมพร้อมสำหรับอาการปวดตึงที่ต้นขาทั้ง 2 ข้างพอควร หลังการผ่าตัดนานประมาณ 1 สัปดาห์ อาการปวดแผลจะมีอาการดีขึ้นด้วยการรับประทานยาแก้ปวด
อย่างไรก็ตามคุณต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ หากยาที่รับประทานไม่สามารถควบคุมอาการปวดหลังการผ่าตัดได้
Q : จะมีอาการปัสสาวะลำบาก มีความเสี่ยงของกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ หลังการผ่าตัด แก้ไขภาวะปัสสาวโดย TVT-O หรือไม่?
คุณอาจจะมีอาการปัสสาวะลำบากชั่วคราว และจะต้องใส่สายสวนปัสสาวะขณะพักฟื้นในตึกผู้ป่วยในไว้ 1 คืน
แม้ว่าภาวะติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะหลังการผ่าตัดชนิดนี้ ปกติแล้วจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่บางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องรักษาโดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ
Q : เมื่อไหร่ที่ฉันจะมีเพศสัมพันธ์ได้ หลังการผ่าตัด แก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด โดย TVT-O และสายคล้องพยุงท่อปัสสาวะโดย TVT-O จะอยู่ได้นานแค่ไหน?
คุณควรจะงดการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังการผ่าตัด
หลักฐานจากการติดตามอย่างเป็นเวลานานแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ยังคงอยู่เหมือนเดิมตลอดไปตลอดชีวิตหลังการผ่าตัด กรณีเกิดอาการแทรกซ้อนในการผ่าตัด ทำให้ต้องมีการผ่าตัดนำสายคล้องพยุง TVT-O ออกด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม คุณต้องแจ้งกับนรีแพทย์ ที่ทำผ่าตัดใส่สายคล้องพยุง TVT-O ของคุณทราบในทันที
เมื่อ การผ่าตัดแก้ไข ภาวะปัสสาวะเล็ดโดย TVT-O เกิดผิดพลาดเกิดขึ้นหรือการผ่าตัดล้มเหลว คุณต้องตรวจวินิจฉัยโดยการทดสอบในด้านปัสสาวะศาสตร์ และการรักษาจะต้องตัดสินใจและต้องพิจารณาจากผลการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ โดยการตรวจสอบการเคลื่อนตัวของปัสสาวะ(Urodynamic tests) ครั้งใหม่ และการผ่าตัดแก้ไขเป็นทางเลือกหนึ่งและจะนำมาปรึกษาร่วมกันระหว่างคุณและแพทย์